Fourth: Learning log ( 1st September,2015)
Fourth: Learning log ( 1st September,2015)
การศึกษาของไทย
การศึกษาเป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนาให้คนมีคุณภาพ
มีความสามารถและมีศักยภาพทางด้านการศึกษา
มีการพัฒนาทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ช่วยขัดเกลาให้เป็นคนดี มีคุณธรรมจริธรรม
เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข
จะสังเกตได้ว่าการศึกษาของไทยในอดีตกับปัจจุบันมีความแตกต่างกันมาก
เพราะในอดีตจะมีการเรียนการสอนแบบท่องจำ ส่วนใหญ่จะมีการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ การคัดลายมือ
ช่างฝีมือ ช่างแกะสลัก
ซึ่งมีความแตกต่างจากการศึกษาในปัจจุบันที่มีความซับซ้อนมากขึ้น มีสื่อและเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง
การที่การศึกษาของไทยตกต่ำลงสามารถสังเกตได้จากคะแนนการสอบของเด็กไทยไม่ว่าจะเป็นคะแนนพิซ่า
ตะแนนGAT คะแนนPATและคะแนนO-NET ที่ลดต่ำลงเรื่อยๆ เด็กไทยขาดการคิด การวิเคราะห์ ไม่มีความอดทน
ขาดความรับผิดชอบในการเรียน และที่สำคัญเด็กไทยขาดคุณธรรมจริยธรรมในการเรียน ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่เด็กไทยมีการเรียนตกต่ำลงอาจเนื่องมาจากปัจจัยอื่นๆด้วย
เช่น สภาพแวดล้อมทางสังคม การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันที่มีความวุ่นวาย
นโยบายการเมืองต่างๆที่ส่งผลต่อการศึกษาของไทย
และอาจจะรวมไปถึงคนไทยไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการศึกษาไทยก็อาจจะเป็นไปได้
การศึกษาของเด็กไทยในอดีตกับในปัจจุบันมีความแตกต่างเป็นอย่างมาก
การเรียนการสอนในอดีตจะมีการเน้นการสอนแบบท่องจำ ผู้หญิงจะมีการเรียนเกี่ยวกับการบ้านการเรือน
แต่ถ้าป็นผู้ชายจะศึกษาในวัดซึ่งส่วนใหญ่แล้ววิชาที่เรียนจะเกี่ยวกับการอ่าน
การเขียน การคิดเลข การคัดลายมือ ช่างฝีมือและการแกะสลักต่างๆ
ดังนั้นเนื้อหาการสอนจึงไม่มีความซับซ้อมมากนัก แต่ต่างกับปัจจุบันมากถือได้ว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์หรือสังคมไร้พรมแดน เพราะเป็นยุคแห่งการเรียนรู้ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาในการเรียนการสอน ซึ่งจะเป็นที่รู้กันดีว่าการศึกษาของไทยมีการพัฒนาที่ล่าช้ามาก เป็นระบบการสอนแบบป้อนเข้าให้ผู้เรียนอย่างเดียว
ทำให้เด็กคิดไม่เป็น แก้ปัญหาไม่เป็นและวิเคราะห์ไม่เป็น
นักเรียนจะเรียนแบบการท่องจำอย่างเดียว ถึงแม้ว่านักเรียนจะมีชั่วโมงเรียนที่มากแต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดต่ำลง
ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนที่วัดจากการผลสอบมาตรฐานทั้งในประเทศ คือ O-Net ซึ่งคะแนนเฉลี่ยตกต่ำมาอย่างต่อเนื่องและผลของ PISA
ซึ่งเป็นการทดสอบนานาชาติอยู่ในอันดับท้ายๆ
ซึ่งยังน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือยืนยันว่าการศึกษาของไทยตกต่ำลง
การศึกษาของเด็กไทยมีคุณภาพลดต่ำลงเพราะเนื่องมาจากปัจจัยที่สำคัญอย่างแรกก็คือ
ตัวผู้เรียนเอง การที่ผู้เรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียนและเกิดการเรียนรู้ในตัวเองนั้นสิ่งแรกที่ผู้เรียนควรจะมีคือ
“คุณธรรมจริยธรรม” พบว่าเด็กไทยขาดคุณธรรมในการเรียน ได้แก่
ความซื่อสัตย์สุจริตในการเรียน
บางครั้งนักเรียนไม่มีความความซื่อสัตย์ในการทำข้อสอบ ไม่มีความรับผิดชอบในการทำงานและขาดระเบียบวินัยในตนเอง
ดังนั้นในในการสอนแต่ละครั้งครูเป็นบุคคลสำคัญที่จะสอนเนื้อหาและสอนคุณธรรมแทรกไปด้วย เพื่อเป็นการอบร่มบมนิสัยให้เด็กมีคุณธรรมจริธรรมที่แท้จริง
เป็นเด็กที่มีความรู้คู่คุณธรรม คุณธรรมที่ผู้เรียนควรจะมีได้แก่
การรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ความซื่อสัตย์สุจริตต่อตัวเองและผู้อื่น
การมีวินัยในตนเองในเรื่องของการแต่งกาย ปฏิบัติตามระเบียบและกฏของห้องเรียนและโรงงเรียน การใฝ่รู้ใฝ่เรียนและมีความเพียรพยายยามในการเรียน การอยู่อย่างพอเพียงคือ สอนให้ผู้เรียนดำเนินชีวิตอย่างประมาณตน
มีเหตุผล รอบคอบ อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความรับผิดชอบ มุ่งมั่นการทำงาน รักความเป็นไทยคือ
การสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี
ศิลปะและวัฒนธรรมไทยและการมีจิตสาธารณะ และที่สำคัญครูควรสอนทักษะชีวิตให้ผู้เรียน
ครูไม่ควรสอนแต่ทฤษฎีแต่ควรให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงและแก้ปัญหาด้วยตนเอง ฉะนั้นความรู้ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน
แต่การที่ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมจะทำให้ผู้เรียนเป็นเด็กที่เก่ง
เป็นคนดีและพร้อมที่จะเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพในสังคมไทย
ปัจจัยที่สองที่ส่งผลต่อการศึกษาของไทยคือ
สภาพทางสังคมและปัญหาทางการเมืองของประเทศไทยที่ส่งผลต่อการศึกษาของประเทศ การปฏิรูปหรือพัฒนาการจัดการศึกษาจะสำเร็จหรือล้มเหลวหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเมือง
หากการเมืองไทยมีเงื่อนไขบางประการที่เป็นอุปสรรค
จะส่งผลให้การปฏิรูปการศึกษาไทยไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
บางครั้งผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งจึงมิใช่ผู้มีความรู้ในด้านการศึกษาอย่างแท้จริง ความไม่สอดคล้องของเป้าหมายของการจัดการศึกษากับเป้าหมายทางการเมือง
เป้าหมายของนักการเมืองหลายคนคือ ต้องการคะแนนนิยม
จึงมีนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่ไม่ดำเนินนโยบายที่ให้ผลในระยะยาว
เนื่องจากเสี่ยงที่จะทำให้ตนเองไม่เป็นที่นิยมทางการเมือง
ซึ่งนั่นหมายความรวมถึงนโยบายการศึกษา
การที่นักการเมืองคนใหม่ปฏิรูปการศึกษาและวางนโยบายการศึกษาใหม่
จะทำให้การจัดการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาไม่มีผลระยะยาวและไม่เกิดการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง
ดังนั้นนักการเมืองจึงเลือกดำเนินนโยบายที่เห็นผลในระยะสั้น
เพื่อทำให้ตนเองได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง
อันเป็นอุปสรรคยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาไทย นอกจากนั้นแล้วปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ส่งผลต่อการศึกษาของไทย
นอกจากนั้นแล้วยังมีอีกหนึ่งปัจจัยก็คือ
คนไทยไมเห็นความสำคัญของการศึกษาไทย ขาดการตระหนักถึงคุณค่าทางการศึกษาอย่างแท้จริง
ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนแบบเรียนไปเรื่อยๆ
ไม่ได้ตั้งจุดมุ่งหมายในการเรียนที่ชัดเจน
การที่เด็กไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาอาจเป็นเพราะว่าตัวเด็กเองไม่ได้ตั้งในในการเรียน
ส่วนผู้ปกครองก็ไม่ได้สอนให้เด้กมุ่ฝมั่นและเห็นความสำคัญของในการเรียน
ดังนั้นผู้ปกครองควรสอดส่องดูพฤติกรรมการเรียนของเด็ก สอนให้เด็กมีความอดทน
อดกลั้น สอนให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สอนให้เด็กเป็นคนดีของสังคม
และขณะเดียวกันครูก็ควรมีการสร้างแรงจูงใจให้เด็กชอบและสนใจในการเรียน สอนให้เด็กรู้จักตนเอง(
Self awareness)มากขึ้น สอนให้เด็กรู้ว่าเขาเป็นคนอย่างไร
ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เก่งอะไร ไม่เก่งอะไร และรู้จักอารมณ์ของตนเอง
ซึ่งการรู้จักตนเองนั้นจะเป็นรากฐานของการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองและสามารถที่จะพัฒนาในจุดด้อยหรือจุดบกพร่องของตนเองได้
และส่งผลให้ผูเรียนอยากที่จะเรียนรู้และลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง
สามารถเห็นคุณค่าและความสำคัญของการศึกษา
ดิฉันคิดว่าการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ช่วยพัฒนาคนให้เป็นคนที่มีคุณภาพ
มีศักยภาพในการทำงานและพร้อมที่จะใช้ชีวิตในสังคม เมื่อพูดถึงการศึกษาของไทยยังถือว่ายังไม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพเพเราะเนื่องด้วยมปัจจัยหลายอย่าง
เช่น การขาดคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน สภาพทางสังคมและปัญหาทางการเมืองของไทย การม่เห็นความสำคัญของการศึกษา
เป็นต้น หากว่าผู้เรียนเองมีการพัฒนาตนเอง หาข้อบกพร่องของตนเอง
และพัฒนาจุดด้อยในการเรียนของตนเอง ประกอบกับว่าครูสอนให้เด็กเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนและสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในระหว่างที่เรียน
ก็จะช่วยให้การศึกษาไทยมีศักยภาพ
สร้างผู้เรียนที่เก่ง ดี และมีคุณธรรม
ถ้าหากยโยบายการศึกษาของประเทศมีการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงและมีการสานต่อนโยบายการศึกษาที่ต่อเนื่อง
ก็จะทำให้การศึกษาของไทยมีการพัฒนาทันประเทศอื่นๆและสมาชิกในประเทศเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพและพร้อมที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น