วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

การเรียนรู้นอกห้องเรียน (15th September, 2015)

การเรียนรู้นอกห้องเรียน  (15th  September, 2015)

การฝึกทักษะการเขียน
การฝึกทักษะต่างๆทั้งทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และทักษะเขียนที่สำคัญในการที่จะเรียนภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพเและเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ซึ่งการฝึกทักษะในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันได้ฝึกทักษะการอ่านจากบทความภาษาอังกฤษมาเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งได้แก่บทความเรื่อง 3 Body  Benefits of Outdoor Yoga , Foods You Should Avoid , How Music Affects Teens , Better Sleep : How  Sleep  Affects Your Health และ The Health Benefits of Water ซึ่งทำให้ฉันได้พัฒนาทักษะการอ่านได้มากพอสมควร ทำให้มีทักษะในการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ การอ่านแบบ skimming และแบบ skinning ได้ฝึกการ stressคำ ฝึกการออกเสียงสูง-ต่ำ (intonation)และรู้ความหมายขอคำศัพท์ต่างๆ ในสัปดาห์นี้ดิฉันฝึกทักษะการเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่ยากพอสมควร เป็นทักษะที่ดิฉันยังไม่มีความถนัดพอสมควร การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ เพื่อสื่อถึงความหมายถึงสิ่งที่ผู้เขียนเขียน เพื่อถ่ายทอดให้มีจินตนาการ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และความรู้สึกนึกคิดที่ดี สิ่งสำคัญของการเขียนนั้นผู้เขียนจะต้องมีการสื่อความหมายในสิ่งที่เขียนอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านสารสามารถเข้าใจในความคิด ความรู้สึกและความต้องการที่ผู้เขียนได้สื่อถึง ผู้เขียนจะต้องใช้เทคนิคหรือรูปแบบการเขียนที่ดึงดูดใจผู้อ่านสาร  ภาษาที่ใช้เขียนไม่ยากเกินไปและไม่ทำให้ผู้อ่านสารเกิดความสับสน ดังนั้นดิฉันจะฝึกทักษะการเขียนตั้งแต่วันอังคารที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ.2558 วันอาทิตย์ที่ 20 เดือน กันยายน พ.ศ.2558
วันที่ 15-16 กันยายน 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนจากการอ่านเรื่อง The Merchant of Venice จาก http://www.cliffsnotes.com/literature/m/the-merchant-of-venice/play-summary   เป็นเรื่องเขียนของ      วิลเลียม เชกสเปียร์  เหตุผลที่ดิฉันเลือกฝึกทักษะการเขียนจากเรื่องนี้  เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ มีเนื้อหาไม่ยาวเกินไป  ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน มีตัวละครที่น่าสนใจ ให้ข้อคิดดีๆ  มีคำศัพท์ที่น่าสนใจเหมาะแก่การเขียนสรุปความ  ในการอ่านครั้งแรกดิฉันอ่านเพื่อสรุปโดยไม่มีการแปลคำศัพท์ แต่จะดูความหมายจากบริบท จากนั้นดิฉันได้แปลเรื่องนี้  ซึ่งในการเขียนสรุปมีขั้นตอนการเขียนคือ การอ่านเพื่อสรุปความ จะต้องจับประเด็นให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วจดบันทึกไว้ จากนั้นจึงสรุปความของเรื่องที่อ่าน ซึ่งสามารถสรุปความเรื่องนี้ได้ว่า “บัสสานิโยชาวเมืองเวนิสขอยืมเงินอันโตนิโยซึ่งเป็นพ่อค้า  เพื่อแต่งงานกับนางเปอร์เซียน   ตอนนั้นอันโตนิโยไม่มีเงินจึงไปขอยืมเงินจากไชล็อกชาวยิว โดยสัญญาว่าถ้าไม่มีเงินมาคืนตามกำหนดจะต้องใช้หนี้เป็นเนื้อของตนหนักหนึ่งปอนด์   บัสสานิโยได้แต่งงานกับนางปอร์เซียซึ่งเป็นทายาทเศรษฐีแห่งเมืองเบลมอนต์   อันโตนิโยมาชำระหนี้ไชล็อกตามสัญญาได้เนื่องจากเรือสินค้ายังมาไม่ถึงและมีข่าวว่าเรืออับปางหมด  ไชล็อกจึงไปฟ้องคดีต่อศาล นางปอร์เซียให้บัสสานิโยนำเงินไปชำระหนี้แทนอันโตนิโย   ส่วนตนเองปลอมตัวเป็นชายทำหน้าที่ทนายว่าความ เมื่อไชล็อกไม่ยอมรับเงินแต่ยืนยันจะให้ทำตามสัญญา นางปอร์เซียจึงให้อันโตนิโยตัดเนื้อตนเองให้ได้จำนวนหนึ่งปอนด์และไม่มีเลือดติดที่เนื้อมิฉะนั้นจะถือว่าทำผิดสัญญา ไชล็อกจึงขอถอนฟ้อง  เจ้าเมืองยกโทษประหารให้ไชล็อกแต่ สุดท้าย  ไชล็อกถูกยึดทรัพย์สิน  ”  ต่อมาในวันที่ 16 กันยายน 2558 ดิฉันได้สรุปเนื้อหาและเอาเนื้อหาของเรื่อง The Merchant of Venice มาเขียนสรุปความโดยมีหลักการเขียนคือ  อ่านเนื้อเรื่องทั้งหมดอย่างน้อย 2 รอบ เพื่อให้เข้าใจว่าเรื่องที่อ่านเกี่ยวข้องกับอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร   จากนั้นหาสาระที่สำคัญของเรื่องมาเขียนโดยใช้ภาษาของตัวเองและใช้คำที่สั้น เข้าใจง่าย และได้ใจความ ไม่ควรใช้คำย่อ ในการเขียนสรุปความควรดูความถูกต้องของไวยากรย์เป็นสำคัญ คำนึงเรื่องของภาษาที่ใช้ในการเขียนที่สละสลวย ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ไม่เขียนกำกวม แต่ละประโยคไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป   เมื่อดิฉันได้ฝึกการเขียนนี้แล้วดิฉันรู้สึกว่าได้รู้ถึงหลักการเขียนสรุปความ เรียนรู้ของคำศัพท์  การเรียบเรียงประโยคและการลำดับความสำคัญของเรื่อง
วันที่ 17-18 กันยายน 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนความเรียง(essay)ประเภท narrative paragraph เป็นการเขียนเล่าเรื่อง  ซึ่งหลักการเขียนความเรียงมีวิธีการเขียนดังนี้ 1.) การตั้งชื่อรื่อง (Making a point)  2.)เขียนเรื่องตามหัวข้อที่เลือกและเลือกเหตุการณ์ที่จะเขียน(Supporting your point with selective events) 3.)กำหนดขอบเขตของเรื่อง (Limiting the scope of your story) 4.)การเลือกมุมมองในการเขียน(Choosing a point of view) 5.) การจัดระบบรายละเอียดของการเขียน (Organizing narrative details) ซึ่งในขั้นตอนการเขียนขั้นสุดท้ายนี้ดิฉันเขียนโครงเรื่อง(outline)ซึ่งมี3 ส่วน คือ  บทนำ(beginning) เนื้อเรื่อง(list of  events)และส่วนสรุป(conclusion)   เรื่องที่ดิฉันเขียนความเรียงในวันที่ 17 คือ เรื่อง My  experience when I visited at Krabi   ซึ่งในการเขียนประเภทนี้ ดิฉันได้มีการเขียนบทนำ จากนั้นก็เขียนเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกระบี่ว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง โดยเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดจนจบ แล้วขั้นตอนสุดท้ายคือการเขียนสรุป  ดิฉันได้ฝึกการเขียนเรื่องนี้ออกมา “My experience when I visited at Krabi”   มี การเขียนโครงเรื่องคือ My experience was  very bad when my boat nearly capsized. จากนั้นดิฉันก็เขียนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับ เมื่อเขียนลำดับเหตุการณ์เสร็จ ดิฉันก็เขียนสรุปได้ว่า After I survived , I think that next time I will not visit Krabi again. และในวันที่ 18  ก็ตรวจสอบหลักไวยากรณ์ว่าถูกต้องหรือไม่  ถ้ามีคำหรือประโยคที่เขียนผิดจะต้องแก้ไขคำนั้นให้ถูกต้อง จากการฝึกเขียนความเรียงเรื่องนี้ ทำให้ดิฉันมีทักษะการเขียนมากขึ้น มีความรู้ในเรื่องของไวยากรณ์ การลำดับเหตุการณ์ การใช้คำเชื่อมประเภท adverb clause  และได้แนวคิดในการเขียนความเรียงประเภทนี้คือ จะต้องมีการเล่าเรื่องที่ลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง ต้องบอกจุดประสงค์ที่ชัดเจน และเหตุการณ์นั้นเป็นเหตุการณ์ที่พิเศษกว่าเหตุการณ์อื่นๆในทุกๆวัน
วันที่ 19-20 กันยายน 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนโดยการฝึกเขียนความเรียง(essay) ประเภทการเขียนพรรณา (descriptive) เป็นการเขียนในสิ่งที่บรรยายเกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ เขียนแล้วผู้อ่านสามารถเห็นภาพได้ มีการบรรยายแบบ Spatial order ผู้เขียนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถ่ายทอดให้เห็นเสมือนได้สัมผัส มองเห็น ได้กลิ่น  ได้ยินหรือได้รสชาติ ให้ผู้อ่านได้ใช้ความรู้สึกและประสบการณ์เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องราวที่เล่า ดิฉันได้เริ่มเขียนความเรียงในวันที่ 19 ในตอนแรกดิฉันได้ตั้งชื่อเรื่อง(topic)  จากนั้นเขียน(topic sentence) และก็เขียนโครงเรื่อง(outline)  ซึ่งส่วนประกอบของโครงเรื่องคือ  Introduction , body และ conclusion  ซึ่งดิฉันได้ตั้งชื่อเรื่องว่า My lovely cat”  จากนั้นดิฉันโครงเรื่อง  ดังเขียนซึ่งเรื่องที่ดิฉันเขียนคือเรื่อง My strange cat มี topic sentence คือ Dick Dick , my lovely female cat, is a very strange cat. จากนั้นก็เขียน outline ซึ่งมี3 outline ได้แก่ 1. It appearance is very strange. 2.Its character is like the cheetah. 3. It is very different from the other cat. จากนั้นก็เขียนconclusion ได้ว่า I love and impress my cat because it is a very strange cat. เมื่อดิฉันร่าง outlineเสร็จแล้วก็เขียนรายละเอียดของแต่ละหัวข้อ เพื่อให้แต่ละหัวข้อมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น  จากนั้นในวันที่ 20 ดิฉันได้นำเรื่องที่ร่างไว้มาเขียนเป็นย่อหน้าเดียวกัน  ดิฉันมีการตรวจสอบความถูกต้องในเรื่องของไวยากรณ์ด้วย การเลือกใช้คำที่เหมาะสมและตรวจสอบว่าtopic, topic sentence และconclusion มีความสัมพันธ์กันหรือไม่  ซึ่งเรื่องที่ดิฉันเขียนนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบรรยายแมว บรรยายว่าแมวตัวเมียตัวนี้มีลักษณะแปลกไปจากแมวตัวอื่น ท่าทางของมันคล้ายเสือชีต้า แต่อย่างไรก็ตามฉันก็รักและประทับใจแมวตัวนี้  จากการที่ดิฉันได้ฝึกเขียนความเรียงดิฉันได้ฝึกและได้รู้ในเรื่องไวยากรณ์ ได้คำศัพท์ใหม่ๆ
การเขียนเป็นระบบการสื่อสาร หรือบันทึกถ่ายทอดภาษาเพื่อแสดงออกซึ่งความรู้ ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์โดยใช้ตัวหนังสือ และเครื่องหมายต่างๆเป็นสื่อ ดังนั้นการเขียนจึงเป็นทักษะการใช้ ภาษาแทนคำพูดที่สามารถสื่อความหมายให้เป็นหลักฐานปรากฏได้นานกว่าการพูด การเขียนที่เป็นเรื่องราวเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงตามความมุ่งหมายของผู้เขียนนั้น จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับว่าผู้เขียนมีทักษะในการใช้ภาษาเขียนได้ดีเพียงใด ซึ่งทักษะการใช้ภาษาเขียนต้องอาศัยพื้นฐานความรู้จากการฟัง การพูด และการอ่าน เพราะจากพื้นฐานดังกล่าวจะทำให้ผู้เขียนมีความรู้ มีข้อมูล และมี ประสบการณ์เพียงพอที่จะให้เกิดความคิด ความสามารถในการเรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดออกมา สื่อสารกับผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการที่ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนไปในสัปดาห์นี้ทำให้ดิฉันมีทักษะในการเขียนมากพอสมควร ได้เรียนรู้ว่าเขียนอย่างไรให้ผู้อ่านเข้าใจและการใช้ภาษาที่สละสลวย  ได้เรียนรู้ถึงการเขียนโครงเรื่อง การเขียนสรุปความ ได้เรียนรู้ในเรื่องของคำศัพท์ที่เขียนในบทความและพัฒนาทักษะการอ่านไปด้วย  ดิฉันสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปพัฒนาต่อและประยุกต์ใช้ในการเรียนในอนาคต

               





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น