วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

Fifth : Learning log (15th September, 2015)

Fifth : Learning  log  (15th  September, 2015)       
                                    
                                                Learning   log
 (15th  September, 2015)

การศึกษาเป็นกระบวนการที่พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีความสามารถเต็มศักยภาพ ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรม การศึกษาของชาติจะเป็นตัวบ่งบอกคุณธรรมและความสามารถของครูผู้สอนว่ามีมากแค่ไหน และคุณภาพของเด็กจะสะท้อนถึงคุณภาพของครูเช่นกัน ซึ่งในปี 2558 ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รวมตัวกันเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน(Asean Community) ได้แก่ ประเทศไทย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเวียดนาม มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนเพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง และความเจริญของประเทศในภูมิภาค เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก ตลอดถึงการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม  วัฒนธรรมและเทคโนโลยี ส่งเสริมความร่วมมือของประเทศอาเซียนกับประเทศอื่นๆและองค์กระหว่างประเทศ การทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะพัฒนาประเทศอาเซียนคือ การศึกษา ทุกประเทศในประชาคมอาเซียนมีการแข่งขันทางการศึกษา ซึ่งการที่การศึกษาของแต่ละชาติจะมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จนั้น จะขึ้นอยู่กับว่าครูผู้สอนมีความสามารถหรือใช้วิธีการสอนแบบใดที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง ทำให้ผู้เรียนเก่ง ดีและมีคุณธรรม นอกจากขึ้นอยู่กับคุณภาพของครูแล้ว รูปแบบการสอนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทำให้ผู้เรียนแสดงออกมาซึ่งความรู้ ความสามารถและศักยภาพที่นักเรียนมี ดังนั้นสิ่งสำคัญที่พัฒนาผู้เรียนให้ก้าวไกล มีคุณภาพและพร้อมที่จะเข้าสู่สังคมโลกได้คือ คุณภาพของครูและวิธีการสอน

การศึกษาของไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ถือเป็นยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆที่นำไปใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น การเรียนการสอนในปัจจุบันจึงส่งผลให้ครูมีบทบาทในการสอนน้อยลง ส่วนผู้เรียนไม่ได้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ขาดการคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหา ผู้เรียนไม่ตั้งใจเรียนและผลการเรียนตกต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน  การเรียนการสอนของไทยไม่ได้เน้นถึงความสามารถผู้เรียนที่แท้จริง ผู้เรียนไม่มีคุณธรรมจริยธรรมในการเรียน  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครูส่วนใหญ่ยังขาดความสามารถในศาสตร์ที่ตนสอน สอนไม่ได้มาตรฐาน ครูสอนเนื้อหาวิชาที่เด็กไม่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง สอนให้เด็กท่องจำเพียงอย่างเดียว ครูไม่ได้สอนให้เด็กคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์และคิดอย่างสร้างสรรค์ ครูมีภาระหน้าที่มากจึงทำให้ไม่มีเวลาในการเตรียมการสอน ทำให้ประสิทธิภาพในการสอนน้อยลง ครูขาดการเอาใจใส่เด็ก ขาดทักษะทางด้านไอซีที และครูใช้วิธีการสอนที่ไม่ตรงกับสภาพของเด็ก ปัญหาของครูทั้งหลายเหล่านี้จึงส่งผลให้เด็กอ่อนในด้านการศึกษา และไม่สามารถพัฒนาการศึกษาให้ทัดเทียมกับชาติอื่นได้
ปี 2558 ประเทศไทยกำลังเข้าสูประชาคมอาเซียน เพื่อพัฒนาการศึกษาของไทยให้ทัดเทียมและก้าวหน้าทันประเทศอื่นๆ เพื่อพัฒนาประเทศไทยสู้ความทันสมัยในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา คุณภาพชีวิต ประชาชน สังคม วัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมในประชาคมอาเซียนกับประเทศอื่นๆได้แก่ ประเทศไทย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเวียดนาม รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่ประชาคมอาเซียนที่สมบูรณ์ ทำให้ประเทศต่างๆในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แต่เมื่อพูดถึงสภาพการศึกษาไทยในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่อันดับท้ายๆในด้านการศึกษา คือ สามารถเรียงตามลำดับคุณภาพการศึกษาที่ดีที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ อันดับ 1 สิงคโปร์ อันดับ 2 บรูไน อันดับ 3 มาเลเซีย อันดับ 4 อินโดนีเชีย อันดับ 5 ฟิลิปปินส์ อันดับ 6 ลาว อันดับ 7 ไทย อันดับ 8 เวียดนาม อันดับ 9 กัมพูชา และอันดับ 10 พม่า จะเห็นได้ว่าการศึกษาของไทยตกต่ำลงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค ดังนั้นสิ่งสำคัญที่เราควรจะแก้ คือ เราควรจะมองไปที่ครูผู้สอนว่าครูผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบไหน สอนอย่างไรที่จะกระต้นให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียน เกิดการเรียรู้อย่างแท้จริงและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตจริง ซึ่งคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่ครูผู้สอนควรมีคือ ความมุ่งมั้นตั้งใจ(determination)ในการสอน นั่นหมายถึงว่า ครูจะต้องมีความตั้งใจจริง ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจในการสอนและทำกิจกรรมต่างๆเพื่อให้สำเร็จลุล่วงตามตามเป้าหมายที่กำหหนดไว้ และคำนึงว่าผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในตนเอง  สามารถสร้างเด็กให้เป็นเยาวชนที่ดีของสังคมและชาติ ดังนั้นครูต้องเข้าใจปัญหาของเด็ก นอกจากนั้นครูต้องเข้าใจเด็กแต่ละคน มีความอดทน ใจสู้ เมื่อผิดพลาดในการสอนครูก็ควรจะปรับปรุงแก้ไขข้อผิดของตน ซึ่งวิธีการสอนเหล่านี้อาจจะช่วยให้ผู้เรียนเป็นเด็กยุคใหม่ ทันโลกทันเหตุการณ์และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
แต่อย่างไรก็ตามการที่ประเทศไทยจะสร้างเยาวชนที่ดี มีคุณภาพและมีศักยภาพทางการศึกษานั้น จะพัฒนาหรือแก้ไขไปที่ครูผู้สอนอย่างเดียวไม่ได้ แต่เราควรจะมองไปที่รูปแบบการเรียนการสอนด้วย เพราะรูปแบบการสอนของครูในอดีตกับปัจจุบันมีความแตกต่างเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ มีสื่อเทคโนโลยีต่างๆและวิทยาการต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องในการเรียนการสอนมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ครูผู้สอนควรสอนแบบบูรณาการ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานความรู้ต่างๆ ครูผู้สอนจะต้องเชื่อมโยงเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และสามารถนำความรู้นั้นๆไปใช้ได้จริง นั่นได้แก่ การสอนแบบนิรนัย (Deductive Method) วิธีสอนแบบนี้ เป็นการสอนที่เริ่มจากกฎหรือหลักการต่างๆ แล้วให้นักเรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน วิธีการสอนแบบนี้ฝึกหัดให้นักเรียนเป็นคนมี เหตุมีผล ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริง  ขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัย   ซึ่งมีขั้นสอนคือ ขั้นอธิบายปัญหา ระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา เพื่อยั่วยุให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ       ขั้นอธิบายข้อสรุป ได้แก่ การนำเอาข้อสรุปกฎหรือนิยามมากกว่า 1 อย่างมาอธิบายเพื่อให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา   ขั้นตกลงใจเป็นขั้นที่นักเรียนจะเลือกข้อสรุป กฎหรือนิยาม ที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา   ขั้นพิสูจน์หรืออาจเรียกว่าขั้นตรวจสอบเป็นขั้นที่สรุปกฎหรือนิยามว่าเป็นความจริงหรือไม่ โดยการปรึกษาครู ค้นคว้าจากตำราต่างๆ และจากการทดลองข้อสรุปที่ได้พิสูจน์ว่าเป็นความจริงจึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้องและการสอนแบบอุปนัย(Inductive Method)  เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหา กฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้นักเรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบ แล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่างๆ เพื่อนำมาเป็น ข้อสรุปขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัยได้แก่ ขั้นเตรียม คือ การเตรียมตัวนักเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม กำหนด จุดมุ่งหมาย และอธิบายความมุ่งหมายให้นักเรียนได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ขั้นที่สองคือขั้นสอน คือ การเสนอตัวอย่างหรือกรณีต่างๆให้นักเรียนได้พิจารณา เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบ สรุปกฎเกณฑ์ได้ การเสนอตัวอย่าง  ขั้นที่สามคือขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม เป็นขั้นหาองค์ประกอบรวมคือการที่นักเรียน ได้มีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์ ขั้นที่สี่คือขั้นสรุป คือ การนำข้อสังเกตต่าง ๆ จากตัวอย่างมาสรุปเป็นกฎเกณฑ์ นิยาม หลักการหรือสูตร  ขั้นที่ห้าคือการนำไปใช้ คือ ขั้นทดลองความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือข้อสรุปที่ได้มาแล้วว่าสามารถที่จะนำไปใช้ในปัญหาหรือแบบฝึกหัดอื่นๆได้หรือไม่ นอกจากนี้ครูควรสร้างเทคนิคการสอนเพิ่มเติมนั่นก็คือ การสอนคำศัพท์ เพื่อให้ผู้เรียนฝึกจำคำศัพท์ เพราะการที่ผู้เรียนมีคลังคำศัพท์มากจะช่วยให้ผู้เรียนนำคำศัพท์ไปใช้ในบทเรียนต่างๆได้  ช่วยประหยัดเวลาในการแปลและช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจในสิ่งที่เรียนได้ง่ายขึ้น และการที่ครูสอนแบบการยกตัวอย่างจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าในในบทเรียนนั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่นการยกสถานการณ์ต่างๆ แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันแก้ปัญหา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงและเกิดการเรียนรู้ที่ผูเรียนเป็นศูนย์กลาง
การศึกษาเป็นกระบวนการขัดเกลาคนให้เป็นคนดี มีคุณภาพ มีศักยภาพในการทำงาน ช่วยพัฒนาจิตใจ อารมณ์ สังคม  และสติปัญญา  สร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะชีวิต มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะประกอบการงานอาชีพได้ เมื่อพูดถึงการศึกษาของประเทศไทยถือว่าการศึกษาไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก มีการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนมากขึ้นประกอบกับว่าประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องเร่งพัฒนาการศึกษาของชาติให้ก้าวไกลและทัดเทียมประเทศอื่นๆ จะต้องพัฒนาครูให้มีคุณภาพ แต่การที่จะพัฒนาครูนั้น เราควรจะมองไปที่ปัญหาต้นตอเป็นสำคัญแล้วจึงแก้ไขปัญหานั้น เมื่อครูมีคุณภาพแล้วจากนั้นจึงพัฒนารูปแบบการสอนของครู ครูใช้วิธีสอนแบบไหน ใช้กระบวนการสอนอย่างไรจึงจะกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในสิ่งที่เรียน เกิดการพัฒนาตนเองและเรียนรู้อย่างแท้จริง ในระหว่างที่ครูสอนครูก็ควรสอนคุณธรรมจริยธรรมแทรกในเนื้อหาไปด้วย ไม่ใช่เพียงสอนให้เสร็จตามคาบเรียน ดังนั้นครูก้เปรียบเสมือนแม่พิมพ์ของชาติ การศึกษาของประเทศจะพัฒนาไปได้ไกลแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าครูมีคุณภาพและความสามารถมากแค่ไหน  และการศึกษาของเด็กก็ย่อมสะท้อนถึงคุณภาพของครูดังคำกล่าวที่ว่า
                                                         “    กล้วยไม้ออกดอกช้า      ฉันใด
                                                             การศึกษาเป็นไป            เช่นนั้น
             แต่ดอกออกคราวใด      งามเด่น
            งานสั่งสอนปลูกปั้น     เสร็จแล้วแสนงาม
บทกลอนนี้หมายความว่า  กล้วยไม้เป็นพืชที่อยู่ในที่สูง ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศไม่ร่วงโรยง่ายเปรียบเสมือนครูที่อยู่ทั่วแดนไทยที่ต้องอดทนต่อสู้เพื่ออุดมการณ์และอุทิศตนเพื่อการศึกษาของชาติ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น