วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Second : Learning log (11th August ,2015)

(11th August ,2015)
Learning log
(11th August ,2015)
1. การศึกษา(Education)
การศึกษา เป็นกระบวนการส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรม หรือหมายถึงการพัฒนาผู้เรียนให้เจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ นั่นคือ เป็นการสอนหรือแนะนำให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองให้มากที่สุดเท่าที่สามารถกระทำได้ 
การศึกษามีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุค โลกาภิวัตน์ที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประชาชนในชาติจำเป็นต้องได้รับการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้มีการพัฒนาที่สมดุลทั้งสติปัญญา จิตใจ  ร่างกาย และสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
รูปแบบของการศึกษา
ระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน  การศึกษานอกระบบโรงเรียน  และการศึกษาตามอัธยาศัย  ซึ่งในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542(ฉบับที่2) แก้ไขเพิ่ มเติม จะไม่พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน  แต่จะถือว่าการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียนการสอน หรือรูปแบบของการเรียนการสอนที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Modes of learning" 
1.)  การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือ การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ที่สำคัญ ในการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษานั้น เกิดขึ้นทั้งที่ห้องเรียน รวมถึงการเรียนรู้นอกห้องเรียน อาทิ ที่บ้าน หรือการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยยึดถือเอาห้องเรียนเป็นฐานกลางของการจัดการศึกษา ซึ่งการศึกษาในระบบแบ่งเป้น 2 ระดับ ได้แก่
·       ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
·       การศึกษาระดับอุดมศึกษา
2.) การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
การศึกษานอกระบบโรงเรียน(Non-formal Education) จะจัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ไม่มีการจำกัดพื้นฐานการศึกษา อาชีพ  ประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเน้นให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในการดำรงชีวิต  ความรู้ทางด้านทักษะ การประกอบอาชีพ เป็นต้น
3.) การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ 
2.การเรียนรู้ (Learning)
การเรียนรู้ (learning) คือการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมี 3 ด้านคือ 
1.) ด้านสมอง (cognitive change) คือ ไม่รู้ได้รู้ ไม่เข้าในได้เข้าใจ ไม่ตระหนักได้ตระหนัก
2.) ด้านความรู้สึก (affective change) คือไม่ชอบเป็นชอบ ชอบน้อยเป็นชอบมาก ชอบเป็นไม่ชอบ เกลียดน้อยเป็นเกลียดมาก
3.) ด้านพฤติกรรม (conative change) คือทำไม่เป็นกลายเป็นทำเป็น ทำไม่เก่งเป็นทำเก่ง ไม่เคยทำหันมาทำ เคยทำอยู่แล้วเลิกทำ เคยนานๆทำทีกลายเป็นทำบ่อยๆ
ซึ่งการที่คนเราจะเรียนรู้ได้ต้องผ่านขั้นตอน ดังนี้
1.) sensitive. เปิดหูเปิดตาที่จะรับข้อมูลใหม่ๆเข้ามา
2.) Perceptive ต้องเกิดความคำนึงว่าบางสิ่งบางอย่างมีปัญหาหรือไม่ถูกต้อง
3.) Inquisitive ต้องการถามไถ่ใฝ่หาข้อมูลเพื่อนำเอามาเป็นแนวทางที่จะแก้ปัญหา
4.) Cognitive ได้รับความรู้จากข้อมูลที่ไปหามา มีการเปลี่ยนแปลงทางสมอง
5.) Comparative นำเอาหนทางในการปรับแก้มาพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
6.) Affective เกิดความรู้สึกชื่นชอบทางเลือกทางใดทางหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติ
7.) Decisive พร้อมที่จะตัดสินใจเลือกทางที่คิดว่าดีที่สุด
8.) Active เกิดการเปบี่ยนแปลงในการกระทำที่อยู่บนพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงทางสมองและทางความรู้สึก
9.) Evaluative เมื่อทำไปแล้วก็มานั่งประเมินการทำงานของตนตามหลักวิมังสาคือการใคร่ครวญการกระทำของตนเอง
10.) Adaptive หบังจากการประเมินแล้วมีอะไรต้องปรับเปลี่ยนก็ปรับ เพื่อไม่ให้ผิดพบาดต่อเนื่องหรือซ้ำซาก
“Strategy hoe to solve the problem in learning language”
                “Meta-cognition” (Meat=ยิ่ง,เหนือ,อภิปัญญา) (cognition=สมอง , ปัญญา=การรับรู้)
                การกำกับตนเองว่ารู้หรือไม่รู้
                -ถ้ารู้ ควรพัฒนาต่อไป
                -ถ้าไม่รู้ ควรแก้ไข ทำให้รู้ขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่า การกำกับตนเอง(Self-directed Learning)

3. Paraphrasing &Summarizing

                1.) Paraphrase คือ การเขียนใจความหรือข้อความที่มีความหมายเดิม โดยเปลี่ยนภาษาและรูปแบบประโยคให้เป็นภาษาของเรา  โดยเปลี่ยนภาษาและรูปประโยคให้เป็นของเราเองทั้งหมด
2.)Summary คือ การเขียนนำเฉพาะใจความสำคัญมาเขียน ทำให้ข้อความนั้นสั้นกว่าเดิม เช่น จากหนึ่งย่อหน้าเหลือสองบรรทัด
4. Formative & Summative Assessment
1.) Formative เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนในห้องเรียน ช่วยกำหนดมาตรฐาน เนื้อหาและเกณฑ์เป็นตัวกำหนด
2.) Summative เป็นการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน ที่ครูประเมินจากข้อมูลของนักเรียนตามความแตกต่างของแต่ละคน
5. การฝึกทักษะ 4 ทักษะ
การฝึกทักษะทั้ง 4 ทักษะ  ได้แก่ ทักษะการอ่าน ทักษะการพูด ทักษะการฟัง และทักษะการเขียน ซึ่งทักษะการอ่านสามารถอ่านได้จากหนังสือ นวนิยาย และการดูภาพยนตร์ เป็นต้น ส่วนทักษะการพูดเป็นทักษะที่ฝึกแล้วทำให้มีทักษะการฟังที่ดี ได้แก่ การฟังบทสนทนาในยูทูป ทำให้เราสามารถนำทักษะการพูดกับทักษะการฟังมาบูรณาการกัน ได้ ทำให้คนฟังสามารถสนทนาในสถานการณ์ต่างๆได้จริง  และทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ต้องฝึกเขียนในเรื่องของไวยากรณ์ เป็นต้น การฝึกทักษะทั้ง 4 นี้ผู้เรียนสามารถฝึกได้เป็นประจำ จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะทางภาษาและสามารถนำทักษะทางภาษาไปใช้ในชีวิตจริงได้

               



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น