วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

งานแปล นิยายเรื่อง “ Five children and it”

งานแปล นิยายเรื่อง  “ Five children and it
(First)
บทที่ 1
เด็กๆที่สวยหล่อ
บ้านหลังหนึ่งอยู่ห่างจากสำนักงานประมาณ 4 กิโลเมตร หลังจากนั้นเพียงไม่กี่นาทีก็มีเด็กๆถามว่า “พวกเราอยู่ใกล้ที่นั่นแล้วใช่หรือไม่” และทุกๆครั้งที่พวกเขาเห็นบ้านหลังนั้น พวกเขาก็พูดว่า “โอ้ มันใช่หรือ” แต่มันก็ไม่ใช่ จากนั้นพวกเขามาที่เนินเขาและที่นั่นเป็นบ้านหลังสีขาว มีสวนสีเขียวขจีและมีไม้ผลมากมาย แม่พูดว่า “พวกเราอยู่ที่นี่”
ทุกคนจึงรีบลงจากรถม้า ได้แก่ โรเบิร์ต แอนเธีย เจน ไซริล มาร์ธาและหญิงเลี้ยงเด็กกับเด็กน้อย แต่แม่ไม่ได้รีบลงจากรถม้า เด็กวิ่งไปรอบๆบ้านและทุกคนชมสวนเพื่อดูว่าที่นั่นเป็นอย่างไร แต่แม่ก็ยังยืนอยู่และดูคนขับรถม้าขณะที่เขากำลังถือกล่องเข้าไปในบ้าน

First : Learning log (7th August, 2015)

Learning log
First : (7th August, 2015)
1.Learning
·       E-language learning = conscious(รู้ตัวที่จะไปเรียนรู้)
·       E-language acquisition = subconscious (การเรียนรู้แบบไม่รู้ตัว เป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติ)*ต้องมีให้มากที่สุด
·      
Input (ตัวป้อน)= process(กระบวนการ) =Output(ผลที่ออกมา)= Outcome(ความพึงพอใจ)
                            
                                   I+1=Comprehensible Input

-                   Input (นักเรียน) =  background  knowledge(schema)=lay level
-                   (ครู) ป้อนเข้าให้นักเรียนและต้องรู้ความรู้เดิมของนักเรียน
-                   Gap คือ ปัญหา ทำให้นักเรียนไม่รู้เรื่อง

Learning log (29th October, 2015 – 30th October, 2015 )

Learning log (29th  October, 2015 – 30th  October, 2015 )


Learning log
 (29th  October, 2015 – 30th   October, 2015 )

“สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรม เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ”
การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นส่วนช่วยในการเพิ่มความเท่าเทียมในสังคม แต่ในสภาวะการณ์ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว  การศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าและทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ  ครูจึงเป็นบุคคลสำคัญในการจักการเรียนการสอนและพัฒนาวิธีการสอนต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง ซึ่งจากการที่ดิฉันได้เข้าร่วมการอบรมเชิงวิชาการ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในวันที่ 29 ตุลาคม 2558 ในช่วงเช้า  ซึ่งมีการเสวนาวิชาการงานวิจัย หัวข้อ Beyond Language Learning โดยดร.สุจินต์ หนูแก้ว  อาจารย์สุนทร บุญแก้วและผศ.ดร.ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล ผู้ดำเนินรายการ
จากการเสวนาในเรื่อง Beyond Language Learning  ทำให้ดิฉันได้มีความรู้ในเรื่องของวิธีการสอนผู้เรียน  ซึ่งการสอนในศตวรรษที่21 ไม่ได้เน้นไปที่การสอนแบบ(Communicating Language Learning-CLT)เท่านั้น แต่ครูควรจะเน้นการการสอนแบบ 5C ได้แก่ Communication, Culture, Connection, Comparison และ Communication ซึ่งเกี่ยวกับSocial Skillsและ Communicative Skills แต่ด้วยเหตุที่ว่าผู้เรียนขาดการวิเคราะห์  ครูจึงต้องมีการพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน ซึ่งคุณลักษณะที่จำเป็นของคนในศตวรรษที่21ในการเรียนรู้ คือ 7C ได้แก่ Critical Thinking and Problems Solving, Creativity and Innovation, Culture(cross culture) , Collaboration and Team Activity , Communicative Information and Media literacy, Computing and Literacy และLife and Career Skills ซึ่งเป็นการเน้นการอ่านและการเขียนเป็นสำคัญและช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อีกด้วย  ผู้เรียนสามารถจำแนก จัดกลุ่ม เชื่อมโยงความสัมพันธ์ วิเคราะห์สภาพ ข้อคิด และความสำคัญออกมา การทำนาย คาดคะเนและคาดการณ์ได้ การคิดวิเคราะห์นั้นมีความสอดคล้องกับแนวคิดของบลูม(Bloom)ได้แก่ ขั้นความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า แต่ลูกศิษย์ของบลูมได้กล่าวว่าการเรียนรู้สูงสุดคือ Create ชิ้นงาน  ทั้งนี้ทั้งนั้นครูควรจะคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนในเรื่อง(Multiple Intelligence) ด้วย
ซึ่งจากสิ่งที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ถือเป็นรูปแบบการสอนที่ใช้กับผู้เรียนในศตวรรษที่21 ซึ่งเป็นการสอนเชิงบูรณาการภาษาอังกฤษ ที่มีการเน้นในเรื่องของทักษะการคิด(Thinking skills)  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลว่าจริงหรือเท็จ สามารถประเมิน ตีความและสร้างชิ้นงานได้ ทำให้ดิฉันได้แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนผู้เรียนในศตวรรษที่21ว่าควรจะมีวิธีการอย่างไรให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และสร้างชิ้นงานด้วยตัวเอง อีกทั้งทำให้ดิฉันรู้ว่าการจะไปเป็นครูในศตวรรษที่21 นั้นครูจะต้องสอนทักษะใดกับเด็กเพื่อให้เหมาะกับสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน