วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

Fourth : Types of sentence ( Learning log : 1st September, 2015)

Fourth : Learning log ( 1st September, 2015)

ประเภทของประโยค ( Types of sentence)

ไวยากรณ์เป็นกระบวนการทางภาษาที่จะควบคุมและรวบรวมคำ เพื่อก่อให้เกิดหน่วยของความหมายที่ยาวขึ้น ไวยากรณ์จึงเป็นตัวกำหนดเกณฑ์พื้นฐานของกิจกรรมในห้องเรียนที่มีจุดประสงค์ชั่วคราวเพื่อให้เป็นผลระยะยาว ไวยากรณ์สามารถช่วยให้เราเรียนรู้ภาษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น.  ซึ่งประโยคเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เพราะในชีวิตประจำวัน เรามักพูดออกมาเป็นประโยคเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งประโยคนั้นเกิดจากคำหลายๆคำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ฉะนั้นประโยคจึงป็นเรื่องพื้นฐานที่จะต้องรู้และเข้าใจ
1.Simple Sentence (ประโยคความเดียว หรือ เอกัตถประโยค)
คือ ประโยคที่มีความคิดหลักเพียงอย่างเดียวในประโยค นั่นคือ มี subject และ verb อย่างละ 1 กลุ่มความคิด (อาจจะเป็น 1 ตัว หรือเกิน 1 ตัวก็ได้)  นั่นคือบอกว่า ใคร หรืออะไร ทำอะไร ประโยคประเภทนี้สามารถอยู่ได้อย่างอิสระ ไม่จำเป็นต้องอาศัยประโยคประเภทอื่น ประโยค  Simple Sentence แบ่งออกเป็นประโยคย่อยได้อีก 5 รูป
ดังนี้คือ
1.              ประโยคบอกเล่า (Declarative Sentence)  เช่น
-                   I live in Lumpang.
-                   He will be back here in few minutes.
-                   Linda wrote that novel.
-                   The secretary answers the phone.
-                   He is a man.
-                   The earth goes round the sun.
-                   Bad driving causes many accident.
-                       I  am  studying  at  a  university  in  Nakornratchasima  province.
-                       Wat  Isaan  is  located  in  Nakornratchasima  city.
2.              ประโยคปฎิเสธ (Negative Sentence) เช่น
-                   I don't live in Ayuttaya.
-                   He isn't able to speak Japanese fluently.
-                   I don't drink coffee.
-                   He can't drive cars.
-                    The  Pali  language  is  not  difficult  for  monks.
-                    Thailand  is  not  the  largest  country  in  the  world.
3.              ประโยคคำถาม (Interrogative Sentence) เช่น
-                   Were you born in Bangkok ?
-                   Does he own this house ?
-                   What are you doing there?
-                   Have you got a pen?
-                    Are  you  a  monk ?
-                   What  is  Buddhism?
4.              ประโยคขอร้องและเชิงบังคับ  (Imperative Sentence) เช่น
-                   Please open the window.
-                   Be quiet in the library.
-                   You should go there!
-                   You must follow him.
-                    I  beg  your  pardon.
-                   You  should  follow  my  words.
-                   Do  as  my  suggestion.
-                   Open  the  door  now.
5.              ประโยคอุทาน (Exclamatory Sentence)ได้แก่  ประโยคที่มีเนื้อความเปล่งอุทานขึ้นมีทั้ง  ตกใจ  ปะหลาดใจ   เศร้าใจ  ดีใจ  เป็นต้น  เช่น
-                   There gone the bus !
-                   How cold it is!
-                   How nice she is!
-                   Oh, my gosh!
-                   There he is!
-                   Here it is!
-                   How  nice  she  is !
-                   What  the  hottest  month  it  is!
2.  Compound Sentence  (อเนกัตถประโยค)
คือประโยคเนื้อความรวม ประกอบด้วย independent  clause ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป โดยทั้ง 2 ประโยคมีความสำคัญไม่เท่ากัน ประโยคหนึ่งเรียกว่า Main Clause (ประโยคหลัก)  ส่วนอีกประโยคหนึ่งเรียกว่า Subordinate Clause (ประโยคอาศัย) เป็นประโยคที่ต้องอาศัยประโยค Main Clause จึงจะได้เนื้อความที่สมบูรณ์ จะมีการเชื่อม Main Clause กับ Subordinate Clause โดยใช้ตัวเชื่อม Co-ordinate Conjunction  และ Conjunction Adverb  และ Punctuation
1.การใช้ Co-ordinate conjunction    มี 7 ตัว คือ and,  or,  nor,  but,  so,  for,  yet
1) and ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายคล้อยตามกันหรือการเพิ่มเติมความคิด เช่น 
·     Yotsak had an accident last week, and he has not come to school for 2 weeks.
·     He was tired, and he had a headache.
2.) or ใช้เชื่อมประโยคที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
·       You will do these homeworks, or you will be punished.
·       He can buy the book, or he can borrow it from the library.
3.) nor ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายคล้อยตามกันและเป็นประโยคปฏิเสธ เช่น
·       Dad is always busy, nor does Mom have much free time.
·       She doesn’t drink milk, nor does she eat butter.
·       I can’t whistle, nor can I sing.
·       He didn’t study last night, nor did he read his book.
·       They were not wearing jackets, nor were they carrying umbrellas.
4.) but ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายขัดแย้งกัน เช่น
·       Satit was very angry with Ratree, but he listened to her patiently.
·       Tom studied a lot, but he didn’t pass the test.
5.) so ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน โดยที่ประโยคหน้า so จะเป็นเหตุ  เช่น
·       Komson felt his room was too cold, so he spoke to the landlord about the heater.
·       Maria was thirsty, so she drank some water.
·       It was cold outside, so she put on a sweater.
6.) for ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน โดยที่ประโยคหน้า for จะเป็นผล เช่น
·       Sangduen has not come to school for a month, for she has problems in her life.
·       I drank some water, for I was thirsty.
·       She put on a sweater, for it was cold outside.
7.) yet ใช้เชื่อมประโยคที่มีความหมายขัดแย้งกันเหมือน but  เช่น
·       Krissana studied hard in summer,yet he failed the exam.
·       Tom studied a lot, yet he didn’t pass the test
               
2.การใช้วิเศษณ์เชื่อม (Conjunctive Adverbs)        Conjunctive Adverb ที่นำมาใช้เชื่อมประโยค แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.) ชนิดคำที่มีลักษณะเป็นการเติมเข้าไปเพื่อเน้นให้เห็น ได้แก่ however  , moreover , furthermore , consequently  ,  nevertheless , accordingly , meanwhile , therefore, etc . เช่น
·       Roy was sick; however, he did go to school.
·       He was tired and thirsty; moreover, he was cold.
·       There was no news from her son; however , she went on hoping.
·       It is difficult to get meat in a village I live; therefore , I become a vegetarian.
·       Rob is handsome; moreover, he is very helpful.
·       Frank was discouraged; however, he did not give up.
·       Josh wasn’t qualified for the job; therefore, he didn’t get it.
·       I want to be able to speak English fluently for my trip to London; meanwhile, I practice speaking it everyday.
·       Mary work so hard;  consequently, she is ill.
* หน้าคำจำพวกนี้ใช้ Semi-colon หลังใช้comma
2. ชนิดคำที่มีความหมายเป็น Transitive word ซึ่งมีความหมายอ่อนลง ได้แก่  otherwise , thus , still , hence , yet  ,etc.  ตัวอย่างเช่น 
·       David was sick, thus he want to see a doctor.
·       He worked very hard, still he didn't complain.
·       You have to get up early; otherwise , you will miss the train.
·       We must study hard; otherwise, we may fail the final examination.
                                 *คำจำพวกนี้ใช้ comma คั่นหน้า
3.การใช้เครื่องหมายวรรคตอน (Punctuation ) ได้แก่ 
1.)Semi-colons (;)   
ประโยคย่อยอิสระซึ่งเป็นประโยคความเดียวที่มีความหมายเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมากกว่าหนึ่งประโยค สามารถรวมให้เป็นประโยคเดียวโดยการใช้เครื่องหมายอัฒภาคหรือ semicolon (;) ดังตัวอย่างต่อไปนี้
·       I do not like him; he complains all the time.
·       She understood the situation; her sister did, too.
·       I feel sorry for Henry; he’s not good at anything.
·       Money isn’t important; you can’t buy happiness.
·       Here’s the report; I’ve been reading it all morning.
·       I’ve just inspected that batch; the customer is certainly not going to accept it.
·       She loves me; she loves me not.
·       They say it's your birthday; it's my birthday too! - Paul McCartney.
·       Management is doing things right; leadership is doing the right things. - Peter Drucker.
2.)การใช้ colon (:) และ dash ( – ) เชื่อมประโยค
ใช้ colon และ dash เมื่อประโยคหลังมีผลโดยตรงมาจากประโยคข้างหน้า เช่นในประโยคตัวอย่างข้างบน ถ้า John ไม่ได้ไปโรงเรียนมีผลมาจากการที่เข้าไม่สบาย ก็อาจใช้ colon หรือ dash แทนได้ เช่น.
·       John was sick – he didn’t go to school.
·       John was sick; he didn’t go to school.
3.)การใช้ comma ( , ) เชื่อมประโยค
อาจใช้ comma เชื่อมประโยคได้ ในกรณีที่เป็นประโยคซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่อง หรือคาบเกี่ยวกัน แทนที่จะขึ้นต้นด้วยประโยคใหม่ซึ่งจะทำให้ขาดความต่อเนื่อง เช่น
·       I looked round. Tom was reading, Linda was writing, John was sleeping.
*ประโยคนี้ถ้าใช้ period แทน comma ก็จะได้ความหมายเดียวกัน เพียงแต่ขาดความรู้สึกต่อเนื่องเท่านั้น
3.) Complex Sentence (ประโยคความซ้อน)
คือ ประโยคความซ้อน ซึ่งประกอบด้วยประโยคหลัก 1 ประโยค และประโยครองหรืออนุประโยคอีกอย่างน้อย 1 ประโยค   ประโยคหลัก (main clause หรือ independent clause) คือ ประโยคอิสระที่มีเนื้อความสมบูรณ์ในตัวเอง มีประธานและ ส่วนขยายเป็นของตัวเองไม่ขึ้นตรงต่อ ประโยคอื่น   ประโยครอง (subordinate clause หรือ dependent clause) คือ ประโยคที่อาศัย ประโยคหลักอยู่ ไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ เพราะเนื้อหาของประโยครองเป็นเนื้อหา ที่ใช้ขยายหรืออธิบายประโยคหลัก จะทำหน้าที่ เป็นกรรม, ส่วนขยาย หรือ กริยาเป็นต้น จึงต้องมาในประโยคที่มีประโยคหลักอยู่ด้วย   ประโยค complex sentence มีการใช้ตัวเชื่อมระหว่างประโยค main clause กับ subordinate clause ดังนี้  Subordinate Conjunction ,  Relative Pronoun ,และ Relative Adverb  
1.ใช้คำเชื่อมหรือคำเชื่อมแฝง (subordinate conjunction) ได้แก่  เช่น if, as if, since, because,  that ,
Whether,  lest,  as, before ,  after , till, until, though ,  although, Unless,  so that,  than , provided , in order that , Provided that , notwithstanding,  etc.
·       He is unhappy because he is very poor.
·       She said that she would come back soon.
·       Danai works as if he were a manchine.
·       Wait here until I come back.
2.ใช้ประพันธ์สรรพนาม (relative pronoun) เป็นคำเชื่อมได้แก่คำต่อไปนี้คือ  Who ,whom , whose ,  which that , as,  but , what,  of which,  where  ตัวอย่างเช่น
·       He is the first man who has won this kind of prize.
·       She made the same mistakes as her sister did.
·       The man who came here this morning is my uncle.
·       There was no one but admired him
·       The tree of which the leaves are yellow is dying
*(ประโยคข้างบนนี้ถือว่าเป็น complex sentence เพราะมี who but of which ไปเชื่อม)
3. ใช้สัมพันธ์วิเศษ (relative adverb) เป็นคำเชื่อมได้ แก่คำต่อไปนี้คือ when , whenever  , where,  why , wherever,  how  ตัวอย่างเช่น
·       I don’t  know when she arrives here.
·       He will go wherever she lives.
·       Do you know how she did it
·       I don’t understand why you have done that.
การสร้างประโยค Complex Sentence
Complex Sentence ต้องมีประโยคหลัก 1 ประโยค และมีประโยครองอย่างน้อย 1 ประโยค ซึ่งประโยครองสามารถเป็น   Adverb Clause , Noun Clause และ Adjective Clause
1.) Adverb clause (วิเศษณานุประโยค)
                 คือ ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยาหรือ คำวิเศษณ์หรืออาจอธิบายได้ว่า Adverb clause เป็นประโยคย่อมที่ขึ้นต้นด้วยคำสันธาน ชนิด subordinate conjunction (เป็นคำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคย่อยเข้ากับประโยคหลัก ส่วนคำสันธานที่ใช้ในประโยคความรวม เรียกว่า coordinating conjunction)  คำสันธานชนิด subordinate conjunction ทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น
1. Adverb Clause of Time  บอกเวลา ได้แก่ before, after, when, while, whenever, after, as soon as, by the time, since, until  เช่น
·       He has lived here since he was born.
·       Please give me a call as soon as you reach home.
·       I will go when I have finished my homework.
·       Tracy and I once met when we were at school.
* สิ่งที่ต้องระวังเกี่ยวกับ  adverb clause ประเภทนี้คือ tense
2. Adverb Clause of Manner  บอกลักษณะ ได้แก่ as, as if, as though
·       He behaves as a winner does.
·        He behaves as if he were the winner.
* adverb clause of manner ไม่ใช้วางไว้หน้า main clause
3. Adverb Clause of Comparison บอกการเปรียบเทียบ ได้แก่ as..as เช่น
1) as…as ใช้ได้ทั้งประโยคบอกเล่า คำถามและปฏิเสธ โดยคำที่อยู่ตรงกลาง
ระหว่าง as และ as คือ คำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์
·       Her younger sister is as beautiful as she is.
                  2) so…as  ใช้เฉพาะประโยคปฏิเสธ
·       The old machine does not operate so efficiently as  the new one does.
·        I have never been  so afraid, as I was when that   gunman came in.
4. Adverb Clause of Purpose  บอกวัตถุประสงค์ ได้แก่ so that, in order that  เช่น
·       You should please her so that she will give you good    cooperation.
·        The police went there in order that they could get some  clues for the murder case.
*ใน adverb clause of purpose จะมี  modal verb อยู่เสมอ ต้องระวังเรื่อง tense นั่นคือ ถ้าใน main clause of purpose เป็น   present tense ใน adverb clause of purpose  จะต้องใช้ modal ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ  will, can แต่ถ้า main clause เป็น  past tense ใน adverb clause of purpose จะต้องใช้ modal  “would, could”  ดังในตัวอย่างข้างต้น
5. Adverb Clause of Place  บอกสถานที่ ได้แก่ where, wherever เช่น
·       You should hide where no one can find you easily.
·        You may go wherever  you like.
* adverb clause of place   ไม่ใช้วางไว้หน้า main clause
6. Adverb Clause of Concession/Contrast     บอกความขัดแย้ง ได้แก่ although, though, even though, even if, while, whereas, however, asเช่น
·       Although he had no job, he did not seem to worry.
·        He insisted on continuing to pursue his dream, even though  his friends tried to discourage him.
·       She is very lazy, whereas her sister is very diligent.
*แม้ adverb clause of concession/contrast จะอยู่หลัง main clause  แต่มักจะใส่ comma ข้างหน้าคำนำหน้า
·       However difficult the task was, he managed to finish  it on time.  (= Although the task was very difficult, he managed to  finish it on time.)
·       Quickly as he ran, he could not catch up with his friend.(= Although he ran very quickly, he could not catch up   with his friend.)
7. Adverb Clause of Condition  บอกเงื่อนไข ได้แก่  as long as, if, unless, on condition that, suppose, provided (that),providing (that)  เช่น
·       I won’t talk to her if I meet her.
·       If you do not come on time, we will leave without you.
·        The workers would go on strike unless the wage rates were  raised.
                                8. Adverb Clause of Result บอกผลลัพธ์ ได้แก่ so…that, such…that  เช่น
·       I am so thirsty that I could drink a gallon of water.
·       It was such a hot day that four people died from sunstroke
so…that ใช้ใน 2 กรณีคือ
1) ใช้กับคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ โดยคำดังกล่าวอยู่ระหว่าง so และ that  และสามารถมีกลุ่มคำอื่นขยายคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ก็ได้ และ that ใน adverb clause ประเภทนี้สามารถละได้
·       Paul worked so hard (that) he fell ill.
·       It is so hot in the dry season (that) people die from sunstroke.
                                  2) ใช้กับคำนามที่มี much, many ข้างหน้า
·       She has so much money (that) she doesn’t have   to work.
·       There were so many people in the room (that) it was difficult to breathe.
such…that มีวิธีการใช้  ดังนี้ such…that จะมีคำนามอยู่ระหว่าง such และ that โดยคำนามดังกล่าว  สามารถมีคำคุณศัพท์หรือกลุ่มคำอื่นขยายก็ได้
1) คำนามที่อยู่ระหว่าง  such และ that จะเป็นคำนามนับได้ เอกพจน์ นามนับไม่ได้ก็ได้ หากเป็นคำนามนับได้เอกพจน์ต้องใช้ a, an ข้างหน้าคำนามนั้น
·       Jim is such a nice guy that everyone here likes him.
·       She has such good qualifications that she could get  a  job in that large-sized company.
·       The glass contains such hot water that no one can   hold it.
                                 2) ในบางกรณีที่ความหมายชัดเจนสามารถใช้such that ได้โดยไม่ต้องมี noun อยู่ตรงกลาง
·       Jim is such that everyone here likes him.
·       The storm was such that more than 50 house  were swept away.
                2.) Noun Clause (นามานุประโยค)
                                                คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เดียวกับคำนามตัวหนึ่ง คือสามารถใช้ประธาน เป็นกรรม
                เป็นส่วนสมบูรณ์หรือเป็นนามซ้อนก็ได้
1. Noun clause ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น
·       What she said made me angry.
·       Who she loves isn’t my business.
2 Noun clause ทำหน้าที่เป็น กรรม โดยแบ่งออกเป็นกรรมของกริยา และ กรรมของบุพบท
2.1) กรรมของกริยา
·       I want to know why you did like that.
·       Her husband always believe what she says.
·       I feel that you overestimated the damages.
2.2) กรรมของบุพบท
·       She is waiting for what she wants.
·       They laughed at what he did.
3. Noun clause ทำหน้าที่เป็น ส่วนเติมเต็ม (Complement) ส่วนเติมเต็มมักตามหลัง Verb to be หรือ Linking verb เช่น
·       This isn’t what you want.
·       It seems that it is impossible.
3. Relative Clause หรือ Adjective Clause
                อนุประโยคที่ขึ้นต้นด้วย Relative Pronoun ได้แก่ who,whom,which,where,when,why,that เป็นต้น ทำหน้าที่อย่าง Adjective คือ ทำหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้าหรือที่เราเรียกว่า Antecedent  แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Relative Pronoun และ Relative Adverb
               
1.)ใช้สัมพันธ์วิเศษ  (relative adverb) เป็นคำเชื่อม ได้แก่คำต่อไปนี้ when , whenever  , where,  why , wherever,  how  ตัวอย่างเช่น
·       I don’t  know when she arrives here.
·       He will go wherever she lives.
·       Do you know how she did it
·       I don’t understand why you have done that.
2.)ใช้ประพันธ์สรรพนาม (relative pronoun)
เป็นคำเชื่อม ได้แก่คำต่อไปนี้คือ  who ,whom , whose ,  which that , As,  but , what,  of which,  where  ตัวอย่างเช่น
·       He is the first man who has won this kind of prize.
·       She made the same mistakes as her sister did.
·       The man who came here this morning is my uncle.
·       There was no one but admired him
·       The tree of which the leaves are yellow is dying
*(ประโยคข้างบนนี้ถือว่าเป็น complex sentence เพราะมี who but of which ไปเชื่อม)
การลดรูปหรือย่อรูป Adjective clause ให้เป็น วลี (phrases) 
An adjective clause ที่มีประธาน เช่น which, that or who สามารถย่อรูปให้เป็นวลีได้ 2วิธีดังนี้
1.การลดรูป Relative clause ที่เป็น Adjective clause ให้เป็นวลี (Phrase) โดยการใช้ V.3 และ V.ing  โดย
- ตัด Relative pronoun ทิ้ง (Relative pronouns: that, who, whom, which, whose, whom)            -  เปลี่ยนกริยาที่ติดอยู่กับ Relative pronouns ให้เป็น V.ing ในกรณีที่คำนามนั้นทำกริยาได้ หรือเปลี่ยนเป็น V.3 ถ้าคำนามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากรูปแบบกริยา ตัวอย่างเช่น
·       The guy who chattered with Big John through Skype a few days ago was Dave.
ลดรูปเป็น
·       The guy chattering with Big John through Skype a few days ago was Dave.
·       Big John provided and wrote an English column which describes English grammatical structure.         
ลดรูปเป็น
·     Big John provided and wrote an English column describing English grammatical structure.
2.การลดรูป Relative clause ที่เป็น Adjective clause ในโครงสร้าง Passive voice ให้เป็นวลี
·       Students who are trained in mathematics can be engineers in the future.      
ลดรูปเป็น
·       Students trained in mathematics can be engineers in the future.         
* จากประโยคข้างต้นเราจะพบว่าวลี which are นั้นถูกละ (omit) และคงไว้แต่ V.3 แสดงว่า คำนามที่ปรากฏหน้า V.3 นั้นถูกกระทำ หรืออยู่ในรูป Passive voice
Restrictive และ Non-restrictive Adjective Clause
Restrictive และ non-restrictive adjective clause เป็นหลักการที่ใช้กับ relative pronoun เป็นส่วนใหญ่          
1. Restrictive adjective clause
                Restrictive adjective clause ก็คือ adjective clause ที่ใช้ระบุคำนามหรือ
สรรพนามของประโยคหลักว่า เป็นใคร, เป็นสิ่งไหน, เป็นคนหรือเป็นสิ่งของประเภทใด
เช่น
·       A man who moved in yesterday is our friend.
   * ประโยคนี้ ‘who moved in yesterday’ คือ ‘restrictive adjective clause’ ที่
ใช้ระบุว่า ผู้ชายที่เป็นเพื่อนของเรา คือ คนที่ย้ายเข้ามาเมื่อวาน ไม่ใช่คนที่ย้ายเข้ามาวัน
อื่น
หลักการใช้ restrictive adjective clause
การใช้ restrictive adjective clause นั้น ผู้ใช้จะเป็นผู้กำหนดเองว่า adjective
clause ใดควรเป็น restrictive โดยมีหลักการดังนี้คือ
   1. ถ้าคนหรือสิ่งของที่เราจะนำเอา adjective clause มาขยายความนั้น มีหลายคน
หรือมีหลายสิ่ง จนอาจทำให้ผู้ที่รับสื่อจากเราไม่รู้ว่าเป็นคนไหนหรือสิ่งไหน เราก็จะใช้ restrictive adjective clause มาระบุดัง
·       A man who moved in yesterday is our friend.
2. Restrictive คือ adjective clause ที่ไม่มี comma (,) วางไว้หน้า restrictive adjective clause นั้นๆ เช่น
·       A man who moved in yesterday is our friend.
จากตัวอย่างข้างต้น จะไม่มี comma (,) วางไว้หน้า who moved in yesterday
Restrictive adjective clause เป็นภาษาของนักภาษาศาสตร์ ตำราบางเล่มเรียกเป็น
ชื่ออื่นๆอีกก็มี ดังนั้น ในฐานะผู้ใช้เราจะเรียก restrictive ว่า ‘adjective clause ที่ไม่มี           comma (,) วางไว้ข้างหน้า
2. Non-restrictive adjective clause
 Non-restrictive adjective clause ก็คือ adjective clause ที่ผู้ใช้ใช้เพื่อเพิ่มข้อ
มูลให้กับคำนามหรือคำสรรพนามของประโยคหลัก โดยคำนามหรือคำสรรพนามนี้เป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่า เป็นใคร, เป็นสิ่งไหน, เป็นคนหรือเป็นสิ่งของประเภทใดเช่น
·       Mr. Pope, who we have just met, is a superstar.
*ประโยคนี้เราจะเห็นได้ว่า ‘who we have just met’ เป็น non-restrictive
adjective clause ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อขยายความ Mr. Pope เท่านั้น เพราะผู้รับสื่อ
จากเราทราบอยู่แล้วว่า Mr. Pope เป็นใคร
และ non-restrictive จะเป็น adjective clause ที่มี comma (,) วางไว้ทั้งข้าง
หน้าและข้างหลังเพื่อให้แตกต่างจาก restrictive adjective clause อีกโสดหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตาม non-restrictive adjective clause บางครั้งอาจมี comma (,) วาง
ไว้ข้างหน้าเท่านั้น ดังนี้
·       The world number two badminton player is Ratchanok Intanon, who
won World Cup Title at China Open.
และ non-restrictive นี้ เราไม่สามารถละ relative pronoun (who, which) ที่เป็นกรรมไว้ได้ ต้องใส่ไว้เสมอ เช่น
·       Mr. Pope, who we have just met, is a superstar.
4. Compound-Complex Sentence (ประโยคความรวม + ประโยคความซ้อน)
            Compound Complex Sentence คือประโยคที่ประกอบกับขึ้นระหว่าง Compound Sentence กับประโยค Complex Sentence ธรรมดาๆ ดังนั้น Compound Complex Sentence จึงประกอบด้วยประโยคหลัก (Main Clause) ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปและประโยครองหรืออนุประโยค (Subordinate Clause) อย่างน้อย 1 ประโยค เช่น
·       While Somsak played the guitar, the boys sang and the girl danced.
·       I knew that he was ill, but I did not know that the suffered from cance.
·       I saw no one in the house which I had told me about , so I didn’t go in.
·       I couldn’t remember what his name is , but I will ask him.

ไวยากรณ์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่เราทุกคนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อที่จะเข้าใจถึงกฎเกณฑ์ทางภาษา  โครงสร้างทางไวยากรณ์เป็นเรื่องพื้นฐานและเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้  แต่อย่างไรก็ตามภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินความสามารถของทุกคน ยิ่งเรามีการฝึกฝนไวยากรณ์มากเท่าไหร่เราก็จะยิ่งเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องของไวยากรณ์และประโยคมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาเกี่ยวกับประโยคในประเภทต่างๆ พบว่าประโยคเป็นส่วนสำคัญที่สุดในโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เพราะในชีวิตของเราในแต่ละวันเราจะต้องพูดสื่อสารกัน  เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น