วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเรียนรู้นอกห้องเรียน (13th October, 2015)

การเรียนรู้นอกห้องเรียน  (13th  October, 2015)

การฝึกทักษะการเขียน
                    การเขียนถือเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญ เป็นการสื่อสารและการถ่ายทอดทางภาษาเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจถึงความรู้ ความคิด ความรู้สึกและอารมณ์ของผู้เขียนได้  เป็นทักษะที่สำคัญใน 4 ทักษะทางภาษา ซึ่งในการเรียนและการฝึกทักษะทางภาษานั้นผู้เรียนก็จะต้องใช้ทักษะการเขียนด้วย เพราะทักษะการเขียนเป็นทักษะการใช้ภาษาแทนคำพูดเพื่อสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงตามความมุ่งหมายของผู้เขียน   ซึ่งการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายเป็นศาสตร์ที่ผู้ใช้ต้องรู้จักคำและเลือกใช้คำให้ถูกต้อง เหมาะสม ตรงความหมาย ตรงราชาศัพท์ เหมาะกับกาลเทศะ ไม่ใช้คำซ้ำซ้อน รู้จักหลบคำโดยไม่เกิดความกำกวม และใช้คำให้เกิดภาพพจน์  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นกลยุทธิ์ในการใช้คำ ที่ไม่ใช่เพียงแต่สื่อความรู้ความเข้าใจเท่านั้น  แต่ยังเป็นการบอกถึงความรู้สึกและอารมณ์อีกด้วย แต่ดิฉันคิดว่าส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับว่าผู้เขียนมีทักษะในการใช้ภาษาเขียนได้ดีเพียงใด  เพราะทักษะการใช้ภาษาเขียนต้องอาศัยพื้นฐานความรู้จากการฟัง การพูด และการอ่าน เพราะทักษะพื้นฐานดังกล่าวจะทำให้มีความรู้ มีข้อมูล และมี ประสบการณ์เพียงพอที่จะให้เกิดความคิด ความสามารถในการเรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดออกมา สื่อสารกับผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะฉะนั้นทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียนล้วนมีความเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น ดังนั้นดิฉันจะฝึกทักษะการเขียนตั้งแต่วันอังคารที่ 13  เดือน ตุลาคม พ.ศ.2558 วันอังคารที่19 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2558

                  วันที่ 13- 14  ตุลาคม   2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนจากเรื่อง David Copperfield’s childhood  จาก http://www.gradesaver.com/david-copperfield/study-guide/summary     เป็นเรื่องเขียนของ Charles Dickens  เหตุผลที่ดิฉันเลือกฝึกทักษะการเขียนจากเรื่องนี้  เพราะเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ  ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน มีตัวละครที่น่าสนใจและให้ข้อคิดดีๆ  มีคำศัพท์ที่น่าสนใจเหมาะแก่การเขียนสรุปความ  ในการอ่านครั้งแรกดิฉันอ่านเพื่อสรุปโดยไม่มีการแปลคำศัพท์ แต่จะดูความหมายจากบริบท จากนั้นดิฉันได้แปลเรื่องนี้  ซึ่งในการเขียนสรุปมีขั้นตอนการเขียนคือ การอ่านเพื่อสรุปความ จะต้องจับประเด็นให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วจดบันทึกไว้ จากนั้นจึงสรุปความของเรื่องที่อ่าน ซึ่งสามารถสรุปความเรื่องนี้ได้ว่า “เดวิด คอปเปอร์วิวเกิดในอังกฤษ พ่อของเขาได้เสียชีวิตก่อนที่เขายังไม่เกิด ดังนั้นเขาต้องอยู่กับแม่ของเขาโดยไม่มีความสุข ก่อนที่แม่ของเดวิดจะคลอดเขา ป้าของพ่อของเดวิดชื่อว่าเบสซี่และคนรับใช้ของเธอชื่อเพกอทตี้ ได้มาเยี่ยมแม่ของเดวิดและแม่ของเดวิดรู้สึกเสียใจมากและร้องไห้ต่อหน้า  เบสซี่  จากนั้นพวกเธอทั้งสองก็พูดเรื่องพ่อของเดวิดที่ตายไปแล้ว  แม่ของเดวิดจึงตกจากเก้าอี้และหมดสติไป  ดังนั้นเพกอทตี้จึงพาเธอขึ้นไปชั้นบนและหมอก็มารักษาเธอ จากนั้นเบสซี่ก็หายไปไม่กลับมาอีกเลย  จากนั้นแม่ของเดวิดและเพกอทตี้กี้ดูแลเดวิดเป็นอย่างดี จากนั้นเพกอทตี้จึงพาเดวิดไปบ้านของน้องชายของเธอชื่อแดเนียล  เมื่อพวกเขาไปถึงบ้านของแดเนียลพวกเขาก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี เดวิดและลูกเลี้ยงของแดเนียลชื่อว่าเอมมิลี่เล่นกันอย่างสนุกสนาน จากนั้นเดวิดจึงกลับไปหาแม่ของเธอและเธอไม่ชอบพ่อเลี้ยงของเธอ”  ต่อมาในวันที่ 15 กันยายน 2558 ดิฉันได้สรุปเนื้อหาและเอาเนื้อหาของเรื่อง David Copperfield’s childhood มาเขียนสรุปความโดยมีหลักการเขียนคือ  อ่านเนื้อเรื่องทั้งหมดอย่างน้อย 2 รอบ เพื่อให้เข้าใจว่าเรื่องที่อ่านเกี่ยวข้องกับอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร   จากนั้นหาสาระที่สำคัญของเรื่องมาเขียนโดยใช้ภาษาของตัวเองและใช้คำที่สั้น เข้าใจง่าย และได้ใจความ ในการเขียนสรุปความควรดูความถูกต้องของ ไวยากรย์เป็นสำคัญ คำนึงเรื่องของภาษาที่ใช้ในการเขียนที่สละสลวย ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ไม่เขียนกำกวมและประโยคไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป   เมื่อดิฉันได้ฝึกการเขียนนี้แล้วดิฉันรู้สึกว่าได้รู้ถึงหลักการเขียนสรุปความ เรียนรู้ของคำศัพท์ใหม่ๆ  ฝึกทักษะการอ่านที่เป็นท่วงทำนองและการออกเสียงคำตต่างๆได้ถูกต้องตามหลักการออกเสียง
                วันที่ 15-16  ตุลาคม 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนโดยการอ่านนวนิยายเรื่อง Animal Farm  โดยอ่านจาก http://www.cliffsnotes.com/literature/a/animal-farm/book-summary สาเหตุที่ดิฉันเลือกฝึกทักษะการเขียนเรื่องนี้ก็เพราะว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เนื้อเรื่องไม่ยาวเกินไป และเป็นเรื่องที่เคยได้ยินมา  มีตัวละครที่น่าสนใจและให้ข้อคิดดีๆ เป็นเรื่องที่สะท้อนถึงเรื่องจริงของการเมืองการปกครอง อีกทั้งมีคำศัพท์ที่น่าสนใจเหมาะแก่การเขียนสรุปความ  ในการอ่านครั้งแรกดิฉันอ่านเพื่อสรุปโดยไม่มีการแปลคำศัพท์ แต่จะดูความหมายจากบริบท จากนั้นดิฉันได้แปลเรื่องนี้  ซึ่งในการเขียนสรุปมีขั้นตอนการเขียนคือ การอ่านเพื่อสรุปความ จะต้องจับประเด็นให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วจดบันทึกไว้ จากนั้นจึงสรุปความของเรื่องที่อ่าน ซึ่งสามารถสรุปความเรื่องนี้ได้ว่า “ในฟาร์มแห่งหนึ่งชื่อ ไร่แมนเนอร์”  ซึ่งมีชาวนาขี้เมาเป็นเจ้าของ เขาของฟาร์มนี้ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่เคยดูแลสัตว์ต่างๆในฟาร์ม ดังนั้นพวกสัตว์ในฟาร์มจึงรวมตัวกันปฏิวัติและขับไล่เจ้าของฟาร์มออกไป มีหมู 2 ตัวเป็นผู้นำชื่อ “สโนว์บอล และ นโปเลียน” และสัตว์ทุกตัวต่างมีอุดมการณ์และต้องการที่จะปฏิวัติเพื่อที่จะเป็นอิสระ มีการเปลี่ยนชื่อฟาร์มเป็น “แอนนิมอลฟาร์ม” ถูกปกครองโดยสัตว์ และเกิดระบบการปกครองแบบใหม่ซึ่งไม่เหมือนกันกับการปกครองของมนุษย์ แต่พวกมันก็ยังมีความละโมบอยู่ ”   ต่อมาในวันที่ 17 ตุลาคม 2558  ดิฉันได้สรุปเนื้อหาและเอาเนื้อหาของเรื่อง Animal Farm  มาเขียนสรุปความโดยมีหลักการเขียนคือ  อ่านเนื้อเรื่องทั้งหมดอย่างน้อย 2 รอบ เพื่อให้เข้าใจว่าเรื่องที่อ่านเกี่ยวข้องกับอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร   จากนั้นหาสาระที่สำคัญของเรื่องมาเขียนโดยใช้ภาษาของตัวเองและใช้คำที่สั้น เข้าใจง่าย และได้ใจความ ในการเขียนสรุปความควรดูความถูกต้องของ ไวยากรย์เป็นสำคัญ คำนึงเรื่องของภาษาที่ใช้ในการเขียนที่สละสลวย ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ไม่เขียนกำกวมและประโยคไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป   เมื่อดิฉันได้ฝึกการเขียนนี้แล้วดิฉันรู้สึกว่าได้รู้ถึงหลักการเขียนสรุปความ เรียนรู้ของคำศัพท์ใหม่ๆ  ฝึกทักษะการอ่านที่เป็นท่วงทำนองและการออกเสียงคำตต่างๆได้ถูกต้องตามหลักการออกเสียง  และได้ข้อคิดเกี่ยวกับระบบการปกครองในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆที่ยังปกครองด้วยอำนาจ สร้างอุดมการณ์ขึ้นมาแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง มีการคอรัปชั่นต่างๆอยู่ จึงทำให้ประเทศเกิดความวุ่นวาน ยากที่จะเกิดการพัฒนาประเทศ
                  วันที่ 18-19 ตุลาคม 2558 ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนโดยการอ่านนวนิยายเรื่อง  Frankenstein   จาก http://www.cliffsnotes.com/literature/f/frankenstein/book-summary     แต่งโดย Marry Shelly  เพราะเป็นนวนิยายที่น่าสนใจและมีตัวละครที่ชวนให้น่าติดตาม ในการอ่านครั้งแรกดิฉันอ่านเพื่อสรุปโดยไม่มีการแปลคำศัพท์ แต่จะดูความหมายจากบริบท จากนั้นดิฉันได้แปลเรื่องนี้  ซึ่งในการเขียนสรุปมีขั้นตอนการเขียนคือ การอ่านเพื่อสรุปความ จะต้องจับประเด็นให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วจดบันทึกไว้ จากนั้นจึงสรุปความของเรื่องที่อ่าน ซึ่งสามารถสรุปความเรื่องนี้ได้ว่า “  แฟรงเคนสเตรน เป็นผีที่ถูกสร้างให้มีชีวิตขึ้นมา ในเรื่องนี้ มันเป็นสัตว์ประหลาดที่มีหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว ผู้คนต่างไม่ชอบมันเพราะมันเหมือนอสูร ดุร้ายและชอบฆ่าคน  วันหนึ่งมันฆ่าน้องชายและภรรยาของเจ้าของที่สร้างมันขึ้นมา   จากนั้นเจ้าของจึงตามมันไปและถูกมันฆ่าตาย  แฟรงเคนสเตรนจึงหนีไปและมันก็เป็นเพียงเครื่องจักรที่ไม่มีจิตใจเหมือนมนุษย์” ”   ต่อมาในวันที่ 19 ตุลาคม 2558  ดิฉันได้สรุปเนื้อหาและเอาเนื้อหาของเรื่อง Frankenstein   มาเขียนสรุปความโดยมีหลักการเขียนคือ  อ่านเนื้อเรื่องทั้งหมดอย่างน้อย 2 รอบ เพื่อให้เข้าใจว่าเรื่องที่อ่านเกี่ยวข้องกับอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร   จากนั้นหาสาระที่สำคัญของเรื่องมาเขียนโดยใช้ภาษาของตัวเองและใช้คำที่สั้น เข้าใจง่าย และได้ใจความ ในการเขียนสรุปความควรดูความถูกต้องของ ไวยากรย์เป็นสำคัญ คำนึงเรื่องของภาษาที่ใช้ในการเขียนที่สละสลวย ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ไม่เขียนกำกวมและประโยคไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป   เมื่อดิฉันได้ฝึกการเขียนนี้แล้วดิฉันรู้สึกว่าได้รู้ถึงหลักการเขียนสรุปความ เรียนรู้ของคำศัพท์ใหม่ๆ  ฝึกทักษะการอ่านที่เป็นท่วงทำนองและการออกเสียงคำตต่างๆได้ถูกต้องตามหลักการออกเสียง  และได้ข้อคิดเกี่ยวกับผลเสียของเทคโนโลยี เมื่อมนุษย์มีการสรางเทคโนโลยีขึ้นมา ถ้าหากว่าวันใดที่พวกเขาไม่สามารถควบคุมสิ่งที่พวกเขาสร้างได้ มันก็จะกลับมาทำร้ายคนที่สร้าง และเรื่องที่สอนว่า “คนทุกคนต้องรับผิดชอบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนกระทำ”
                การเขียนเป็นระบบการสื่อสาร หรือบันทึกถ่ายทอดภาษาเพื่อแสดงออกซึ่งความรู้ ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์โดยใช้ตัวหนังสือ และเครื่องหมายต่างๆเป็นสื่อ ดังนั้นการเขียนจึงเป็นทักษะการใช้ ภาษาแทนคำพูดที่สามารถสื่อความหมายให้เป็นหลักฐานปรากฏได้นานกว่าการพูด การเขียนที่เป็นเรื่องราวเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงตามความมุ่งหมายของผู้เขียนนั้น จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับว่าผู้เขียนมีทักษะในการใช้ภาษาเขียนได้ดีเพียงใด ซึ่งทักษะการใช้ภาษาเขียนต้องอาศัยพื้นฐานความรู้จากการฟัง การพูด และการอ่าน เพราะจากพื้นฐานดังกล่าวจะทำให้ผู้เขียนมีความรู้ มีข้อมูล และมี ประสบการณ์เพียงพอที่จะให้เกิดความคิด ความสามารถในการเรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดออกมา สื่อสารกับผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการที่ดิฉันได้ฝึกทักษะการเขียนไปในสัปดาห์นี้ทำให้ดิฉันมีทักษะในการเขียนมากกว่าเดิม ได้กลวิธีการเขียน ได้เรียนรู้ว่าเขียนอย่างไรให้ผู้อ่านเข้าใจและการใช้ภาษาที่สละสลวย  ได้เรียนรู้ถึงการเขียนโครงเรื่อง การเขียนสรุปความ ได้เรียนรู้ในเรื่องของคำศัพท์ที่เขียนในบทความและพัฒนาทักษะการอ่านไปด้วย  ดิฉันสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปพัฒนาต่อและประยุกต์ใช้ในการเรียนในสาขาวิชาต่างๆในอนาคตได้






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น