วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ

กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ

กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ
ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนในโรงเรียนมากขึ้น  เช่น โรงเรียนสองภาษา โรงเรียนสามภาษาซึ่งโรงเรียนเหล่านี้ใช้โปรแกรมอินเตอร์ในการสอน มีการสอนวิชาอื่นๆที่เป็นภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีมากมาย เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน็ต การสอนแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเก่งภาษาอังกฤษมากขึ้นด้วย  แต่ปัจจุบันนี้พบได้ว่าคุณภาพมาตรฐานในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษลดลงมาก  ผู้เรียนขาดทักษะทางภาษาอังกฤษอันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอกและภายในของผู้เรียนเอง  ดังนั้นการเรียนภาษาอังกฤษให้ประสบความสำเร็จนั้น   สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกเลยคือ ต้องเริ่มต้นที่ตัวผู้เรียนก่อน เพราะตัวผู้เรียนเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการเรียนรู้ หากผู้เรียนมองย้อนมาที่ตัวเองและพัฒนาการเรียนภาษาของตนเอง ผู้เรียนก็สามารถที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ปัจจัยภายนอกเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการเรียนภาษาของผู้เรียน เช่น ครูผู้สอนขาดความรู้และความชำนาญในการสอน  แบบเรียนและสื่อการเรียนไม่ได้มาตรฐาน สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษน้อยเกินไป  รัฐมีการวางกลยุทธ์ทางการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับสภาพของผู้เรียน  และสภาพแวดล้อมทางสังคมไม่เอื้อต่อการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตจริง  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่าระบกบการศึกษาภาษาอังกฤษจะอ่อนแอ   แต่ก็มีนักเรียนบางส่วนที่เก่งภาษาอังกฤษมากขึ้น ซึ่งประเด็นนี้ต้องมองย้อนกลับมาดูที่เหตุปัจจัยเฉพาะกรณี ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ เช่น เด็กบางคนมีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์จริง เพราะได้คลุกคลีกับเจ้าของภาษา ได้ศึกษาจากครูอาจารย์ที่มีความรู้ความชำนาญ ตลอดจนได้เรียนรู้จากสื่อรอบๆตัวที่มีคุณภาพมาตรฐาน ส่วนปัจจัยภายใน คือ เป็นผู้ถนัดในการเรียนภาษา มีเจตคติที่ดีในการเรียนภาษา มีแรงจูงใจในการเรียนภาษา เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะต้องเริ่มที่ตัวผู้เรียนเป็นอันดับแรกก่อน  ผู้เรียนต้องมีการพึ่งพาตนเอง    ซึ่งในการพึ่งพาตนเองของผู้เรียนนั้นจะต้องมีการวางวัตถุประสงค์และเป้าหมาย การแสวงหาความรู้ การพัฒนากลยุทธ์การเรียนและการลงมือปฏิบัติ
การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายต้องอยู่ในรูปธรรม และต้องให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง  เมื่อกกำหนดวัตถุประสงค์และตั้งเป้าหมายได้แล้ว  ก็ต้องมีการเตรียมสื่อและแหล่งความรู้ที่เอื้อต่อการฝึกทักษะด้วยตนเอง เช่น ห้องสมุด คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตหนังสือพิมพ์ เป็นต้น  จากนั้นก็จะต้องพัฒนากลยุทธ์ในการเรียน
การกำหนดวัตุประสงค์และเป้าหมายต้องอยู่ในรูปธรรม  เช่น ภายในเวลา กลยุทธ์ในการเรียนปีผู้เรียนสามารถดูข่าวภาษาอังกฤษทางทรทัศน์ได้เข้าใจ สามารถสรุปสาระสำคัญของเนื้อหาข่าวได้ เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้แล้ว ก็ต้องมีการเตรียมสื่อและแหล่งความรู้ที่เอื้อต่อการฝึกทักษะของผู้เรียน เช่น ห้องสมุด คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ เป็นต้น จากนั้นก็ต้องมีการพัฒนากลยุทธ์ในการเรียน
กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษมีองค์ประกอบที่สำคัญ10 อย่าง แต่ละองค์ประกอบล้วนมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้น ได้แก่
1.)           การศึกษา เป็นการหาความรู้เกี่ยวกับภาษาได้แก่  การศึกษาศัพท์และไวยากรณ์  การศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษา และการศึกษาเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา  จะทำให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารและเข้าใจภาษาได้อย่างแจ่มแจ้ง แต่ก็มีอุปสรรคในการเรียนภาษานั่นคือ ผู้เรียนบางคนเข้าใจว่าภาษาเป็นวิชาทักษะ ไม่ใช่วิชาเนื้อหา จึงทำให้ผู้เรียนไม่เรียนเนื้อหา แต่จะมีการฝึกทักษะอย่างเดียวจนทำให้ละเลยในเรื่องเนื้อหาและลืมที่จะหาความรู้ในส่วนของคำศัพท์และไวยากรณ์
2.)           การฝึกฝน คือ  การเรียนในภาคทฤษฎีและฝึกฝนทักษะในภาคปฏิบัติ  ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งในวิชาทักษะจะมีการเน้นการปฏิบัติแต่ก็ยังให้ความสำคัญในเรื่องของทฤษฎีอยู่  การฝึกทักษะทางภาษาเป็นการฝึกทักษะหลายๆครั้งจนทำให้ผู้ฝึกเกิดทักษะการสื่อสาร การฝึกฝนภาษานั้นจะต้องใช้อวัยวะต่างๆในการฝึก ได้แก่
·       ตา ใช้ในการอ่านหนังสือและข้อความต่างๆ  ดูโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้นและใช้ในการสังเกตกิริยาสีหน้าท่าทางของคนอื่นๆที่เราสนทนา
·       หู ใช้ในการฟังเสียงและน้ำเสียงของผู้พูด เช่น ฟังจากโทรทัศน์ วิทยุ วีดิทัศน์ เป็นต้น  ( ดิฉันคิดว่าดิฉันได้ฝึกทักษะการฟังจากยูทูป เรื่อง Spoken English Leaning Video Spoken English Tutorial English Conversation จากเว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=IhQt_fxGOcw วิดีโอนี้เป็นวิดีโอที่ดีมาก  เพราะมีบุคคลที่สนทนาใช้สำเนียงที่เราสามารถฟังและเข้าใจได้ง่าย  พูดไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป  ซึ่งในวิดีโอนั้นเป็นการสนทนาเกี่ยวกับการแนะนำตนเอง  การทักทายอย่างเป็นทางการ  การถามข้อมูลส่วนตัว  การให้คำแนะนำ  การสั่งอาหาร  การทักทายกันในสถานการณ์ต่างๆ เป็นต้น  เมื่อดิฉันได้ดูวิดีโอนี้แล้วทำให้ดิฉันมีความรู้เกี่ยวกับการใช้บทสนทนาในสถานการณ์ต่างๆเมื่อพบเจอจริงๆ  รวมทั้งได้ฝึกฟังสำเนียงภาษาอังกฤษด้วย และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในการเรียนและประกอบอาชีพในอนาคต  ดังนั้นการฝึกทักษะการฟังบทสนทนาภาษาอังกฤษเป็นการฝึกครั้งแรก  ดิฉันสามารถเข้าใจบทสนทนา  ดิฉันสามารถนำบทสนทนาต่างๆไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามสถานการณ์และโอกาสต่างๆได้)
·       ปาก ใช้ในการออกเสียง สนทนา อ่านออกเสียง เป็นต้น
·       มือ ในการเขียนและใช้กับอุปกรณ์ทดแทนการเขียนด้วยมือ  เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด เป็นต้น
·       หัว ใช้ในการคิด พิจารณาสิ่งที่ศึกษา
·       ใจ  หมายถึงสมรรถภาพทางจิต ต้องรักและใส่ใจในสิ่งที่ตนกำลังศึกษา
ซึ่งอินทรีย์ทั้ง6 ที่กล่าวมานี้ใช้ในการสื่อสารทางวาจาและสื่อสารด้วยลายลักษณ์อักษร
3.)       การสังเกต   การสังเกตเนื้อหาที่มีความซับซ้อน ได้แก่ ไวยากรณ์ คำศัพท์ สำนวนโวหารภาษาอังกฤษ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจภาษาได้ง่ายขึ้น  ดังนั้นผู้เรียนภาษาจะต้องมีการสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อให้เรียนภาษาอังกฤษได้อย่างลึกซึ้ง 
4.)       การจดจำ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก บางคนอาจจะคิดว่าการท่องจำเป็นวิธีที่ล้าสมัยและไม่เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง แต่ความจริงแล้วการท่องจำมีความจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทุกชนิด ในการเรียนภาษานั้นจะต้องใช้การท่องจำด้วย เช่น การท่องจำรูปของคำกริยาที่มีการผันรูป เป็นต้น  ดังนั้นทักษะการท่องจำถือเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษจะต้องมี
5.)       การเลียนแบบ  ผู้เรียนจะต้องใช้การเลียนแบบในการเรียนภาษา ไม่ว่าจะเป็นการเลียนแบบภาษาของพ่อแม่ การเลียนแบบภาษาของเพื่อนและครู และการเลียนแบบในการประกอบอาชีพต่างๆ  ดังนั้นการเรียนภาษาแม่กับภาษาต่างประเทศจึงมีความตแตกต่างกัน  ผู้ที่เรียนภาษาแม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเจ้าของภาษาจึงมีความรู้ทางภาษาและสามารถใช้เป็นแบบอย่างในการฝึกภาษาได้มาก 
6.)        การรู้จักดัดแปลงและปรับใช้ ภาษาให้เข้ากับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยนำเรื่องไวยากรณ์ คำศัพท์ และสำนวนโวหารเข้าไปช่วยด้วย  และมีการให้ข้อมูลทางไวยากรณ์ในรูปของโครงแบบกริยาหรือใช้รหัสไวยากรณ์ เช่น
·       believe [+ that ] I believe that all children are born with equal intelligence.
·       believe [+ object+ to infinitive] I believe her to be the first violinist in the world.
·       believe [+ object+adj.] All the crew are missing, believe dead.
7.)       การวิเคราะห์  การเรียนในระดับที่สูงขึ้น  เป็นเรื่องของการอ่านการเขียน การแปลภาษาวิชาการและภาษาวิชาชีพ ซึ่งการวิเคราะห์มี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับคำศัพท์   ซึ่งเป็นการวิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของศัพท์  ระดับที่สองเป็นระดับไวยากรณ์  เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของประโยค  และระดับที่สามคือระดับถ้อยคำ เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างระหว่างประโยค
8.)        การค้นคว้า  ผู้เรียนภาษาจะต้องมีการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เช่น พจนานุกรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนภาษา หรือบางครั้งผู้เรียนสามารถเดาความหมายคำจากบริบทข้างๆได้   แต่ในความจริงแล้วผู้เรียนไม่สามารถรู้คำศัพท์ทุกคำ  นอกจากนี้คนไทยยังออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ถูกต้อง  ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเดาจากตัวสะกดและไม่มีความรู้พื้นฐานในภาษาอังกฤษ  ดังนั้นผู้เรียนเองจะต้องตื่นตัวและมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ  ผู้เรียนควรได้รับการปลูกฝังนิสัยในการค้นคว้าตรวจสอบให้รู้ชัด และอย่างน้อยผู้เรียนต้องรู้จักใช้สัทอักษรด้วย
9.)        การใช้งาน  เมื่อเรามีการค้นคว้าแล้ว ขั้นต่อไปต้องมีการใช้งานเพื่อทดสอบและตรวจสอบว่าความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้เรื่องนั้นๆมากแค่ไหน ซึ่งการมีโอกาสไปใช้ชีวิตในต่างประเทศจะทำให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในสภาพจริงได้อย่างเต็มที่ ผู้เรียนสามารถที่จะเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และสำรวจจุดอ่อนและจุดแข็งของตนเองด้วย 
10.)         การปรับปรุง  เมื่อมีการนำไปใช้ในชีวิตจริงแล้ว  ผู้เรียนจะต้องมีการสังเกตและหาข้อบกพร่องเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่     
                                       จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้คุณภาพการเรียนการสอนภาษาของผู้เรียนลดต่ำลงมาก เราจะโทษใครไม่ได้ถ้าหากการศึกษาของชาติมีคุณภาพต่ำลง หากแต่ว่าเราจะต้องหันมาหาข้อบกพร่องหรือแก้ไขข้อบกพร่องที่ตัวผู้เรียนเองโดยใช้กลยุทธ์ในการเรียนภาษา จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบทั้งหมดของกลยุทธ์ในการเรียนภาษาล้วนมีความเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น  ผู้เรียนต้องมีการฝึกภาษาอังกฤษโดยใช้กลยุทธ์เหล่านี้ตามลำดับ และข้าพเจ้าคิดว่าการที่ผู้เรียนมีการพัฒนาตนเองแล้ว  ข้าพเจ้าคิดว่าการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนนั่นก็คือ การพัฒนาครู  เพราะครูเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกันในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของเด็ก ฉะนั้นแล้วข้าพเจ้าคิดว่าการที่จะเป็นคนเก่ง ฉลาด  รอบรู้ในภาษานั้นผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมาย เมื่อผู้เรียนมีการพัฒนาตนเองแล้วจึงจะมาแก้ไขและพัฒนาสิ่งรอบๆตัวผู้เรียนต่อไป
                       นากจากนี้แล้วเมื่อผู้เรียนได้ฝึกภาษาโดยใช้กลยุทธ์ทางภาษาแล้ว ยังมีแนวคิดในการพัฒนาผู้เรียน ซึ่ง 3 ด้าน คือ
1.)         ด้านผู้เรียน
2.)         ด้านเจตคติ
3.)         ด้านการเรียนรู้ภาษา
        เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางภาษาของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ในตนเองและเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง และเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะทางภาษา ควรใช้หลักการเรียนรู้ภาษา ซึ่งได้แก่
1.)         More knowledge เป็นการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการเรียนภาษาของผู้เรียน
2.)         More skill การสร้างทักษะทางภาษาของผูเรียน
3.)         More  confidence สร้างความมั่นใจให้เกิดในตัวผู้เรียน
4.)         More Motivation เป็นการกระตุ้นพฤติกรรมไปสู่เป้าหมาย
5.)         Positive Attitude การสร้างทัศนคติทางบวกให้กับผู้เรียน
6.)         Your Learning Style  มี 3 ประเภท ได้แก่ Auditory Learners, Visual Learners และ Tactile Learners
                   จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้คุณภาพการเรียนการสอนภาษาของผู้เรียนลดต่ำลงมาก เราจะโทษใครไม่ได้ถ้าหากการศึกษาของชาติมีคุณภาพต่ำลง หากแต่ว่าเราจะต้องหันมาหาข้อบกพร่องและแก้ไขข้อบกพร่องที่ตัวผู้เรียนเองโดยใช้กลยุทธ์ในการเรียนภาษา  จะดว่าเห็นได้ว่าองค์ประกอบทั้งหมดของกลยุทธ์ในการเรียนภาษาล้วนมีความเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น ผู้เรียนต้องมีการฝึกภาษาอังกฤษโดยใช้กลยุทธ์เหล่านี้ และข้าพเจ้าคิดว่าการที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้ได้ดีมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะต้องรู้ตนเองก่อน และยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของภาษาของผู้เรียน นั่นคือ การพัฒนาครู เพราะครูเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกันที่จะส่งเสริมการเรียรู้ภาษาของผู้เรียน ฉะนั้นแล้วข้าพเจ้าคิดว่าการที่จะป็นคนเก่ง ฉลาด และรอบรู้ในภาษานั้นผู้เรียนจะต้องรู้จักตนเองก่อน เพราะผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่จะพัฒนาตนให้ไปถึงเป้าหมาย เมื่อผู้เรียนมีการพัฒนาตนเองแล้ว จึงจะแก้ไขและพัฒนาสิ่งรอบๆตัวผู้เรียนต่อไป

                                                                                                
                 


2 ความคิดเห็น: