วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log (29th October, 2015 – 30th October, 2015 )

Learning log (29th  October, 2015 – 30th  October, 2015 )


Learning log
 (29th  October, 2015 – 30th   October, 2015 )

“สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรม เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ”
การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นส่วนช่วยในการเพิ่มความเท่าเทียมในสังคม แต่ในสภาวะการณ์ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว  การศึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าและทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ  ครูจึงเป็นบุคคลสำคัญในการจักการเรียนการสอนและพัฒนาวิธีการสอนต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง ซึ่งจากการที่ดิฉันได้เข้าร่วมการอบรมเชิงวิชาการ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในวันที่ 29 ตุลาคม 2558 ในช่วงเช้า  ซึ่งมีการเสวนาวิชาการงานวิจัย หัวข้อ Beyond Language Learning โดยดร.สุจินต์ หนูแก้ว  อาจารย์สุนทร บุญแก้วและผศ.ดร.ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล ผู้ดำเนินรายการ
จากการเสวนาในเรื่อง Beyond Language Learning  ทำให้ดิฉันได้มีความรู้ในเรื่องของวิธีการสอนผู้เรียน  ซึ่งการสอนในศตวรรษที่21 ไม่ได้เน้นไปที่การสอนแบบ(Communicating Language Learning-CLT)เท่านั้น แต่ครูควรจะเน้นการการสอนแบบ 5C ได้แก่ Communication, Culture, Connection, Comparison และ Communication ซึ่งเกี่ยวกับSocial Skillsและ Communicative Skills แต่ด้วยเหตุที่ว่าผู้เรียนขาดการวิเคราะห์  ครูจึงต้องมีการพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน ซึ่งคุณลักษณะที่จำเป็นของคนในศตวรรษที่21ในการเรียนรู้ คือ 7C ได้แก่ Critical Thinking and Problems Solving, Creativity and Innovation, Culture(cross culture) , Collaboration and Team Activity , Communicative Information and Media literacy, Computing and Literacy และLife and Career Skills ซึ่งเป็นการเน้นการอ่านและการเขียนเป็นสำคัญและช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อีกด้วย  ผู้เรียนสามารถจำแนก จัดกลุ่ม เชื่อมโยงความสัมพันธ์ วิเคราะห์สภาพ ข้อคิด และความสำคัญออกมา การทำนาย คาดคะเนและคาดการณ์ได้ การคิดวิเคราะห์นั้นมีความสอดคล้องกับแนวคิดของบลูม(Bloom)ได้แก่ ขั้นความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า แต่ลูกศิษย์ของบลูมได้กล่าวว่าการเรียนรู้สูงสุดคือ Create ชิ้นงาน  ทั้งนี้ทั้งนั้นครูควรจะคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนในเรื่อง(Multiple Intelligence) ด้วย
ซึ่งจากสิ่งที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ถือเป็นรูปแบบการสอนที่ใช้กับผู้เรียนในศตวรรษที่21 ซึ่งเป็นการสอนเชิงบูรณาการภาษาอังกฤษ ที่มีการเน้นในเรื่องของทักษะการคิด(Thinking skills)  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลว่าจริงหรือเท็จ สามารถประเมิน ตีความและสร้างชิ้นงานได้ ทำให้ดิฉันได้แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนผู้เรียนในศตวรรษที่21ว่าควรจะมีวิธีการอย่างไรให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และสร้างชิ้นงานด้วยตัวเอง อีกทั้งทำให้ดิฉันรู้ว่าการจะไปเป็นครูในศตวรรษที่21 นั้นครูจะต้องสอนทักษะใดกับเด็กเพื่อให้เหมาะกับสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน
Learning log
(29th  October, 2015 30th   October, 2015 )
“สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรม เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ”
การศึกษาเป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพมีความสามารถเต็มศักยภาพ มีการพัฒนาที่สมดุลทั้งสติปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ  แต่การที่จะพัฒนาอนาคตของชาติให้มีคุณภาพนั้น ครูเป็นบุคคลหลักที่จะเลือกวิธีการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน และจะเห็นได้ว่าสถานการณ์โลกในศตวรรษที่21มีความแตกต่างกับศตวรรษที่20และ19   ครูในทศวรรษที่ 21 จึงต้องมีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมและต้องมีความรู้เชิงบูรณาการ  ซึ่งจากการที่ดิฉันได้เข้าร่วมการอบรมเชิงวิชาการ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในวันที่ 29 ตุลาคม 2558 ในช่วงบ่าย โดยมีผู้บรรยายคือ ผศ.ดร.ศิตา  เยี่ยมขันติถาวร บรรยายเกี่ยวกับความรู้เชิงบูรณาการของครูสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่21กับการเป็นสมาชิกอาเซียน และการเรียนการสอนในศตวรรษที่21และกลวิธีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีคนใช้มากเป็นอันดับ4ใน10ของโลก แต่เมื่อพูดถึงปัญหาในการใช้ภาษาอังกฤษเราก็ยังสามารถสังเกตได้หลายปัญหา ได้แก่ ปัญหาในเรื่องการพูดทับศัพท์ เช่น over,  noy, chill chill, out เป็นต้น การพูดติดปาก การใช้Adjectiveในความหมายที่ผิด การแปลที่ผิดๆ การเรียกชื่อยี่ห้อ ชื่อแบรนด์ที่ผิดๆ เด็กไทยไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ การเกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา  ซึ่งปัญหาเหล่านี้บางคนอาจจะคิดว่าเป็นปัญหาเล็กๆแต่จริงๆแล้วถือเป็นปัญหาใหญ่ของผู้เรียน ประกอบกับว่าประเทศไทยมีการเข้าสู่อาเซียนแล้ว ฉะนั้นครูเป็นบทบาทสำคัญที่จะต้องจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เหมาะกับผู้เรียนในศตรรษที่21ได้แก่ การสอนผู้เรียนในเรื่องของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาแม่และทักษะการอ่านเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และได้รับความรู้ต่างๆมากมาย ครูต้องบูรณาการการจัดการเรียนการสอนโดยถักทอหรือประสานไปพร้อมกับความรู้หลัก และสอนผู้เรียนให้เรียนรู้ที่จะรู้ เรียนรู้ที่จะทำ เรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมและเรียนรู้ที่เป็น นอกจากนี้แล้วครูยังสามารถใช้ยุทธวิธีอื่นๆในการสอนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ เกม นิทาน เพลง วาดภาพ บทบาทสมมติ การท่องคำคล้องจองและจากสิ่งต่างๆรอบตัว ครูใช้แนวการสอนภาษาอังกฤาที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ เน้นกฎเกณฑ์ทางภาษาและเน้นความเหมะสมในการใช้ภาษา  ซึ่งวิธีการสอนแบบบูรณาการนี้อาจช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆที่เป็นจริงได้
จากการที่ดิฉันได้ฟังคำบบรยายเรื่องเหล่านี้ทำให้ดิฉันคิดว่าการที่จะพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่21นั้น ครูจะต้องมีความรู้ความสามารถจริงๆในการคิดหาวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสภาพสังคมและปัญหาทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งได้แก่ การสอนเรื่องการออกเสียง การสอนคำศัพท์ ไวยากรณ์  หลักการแปลและ การสร้างกิจกรรมต่างๆได้แก่ เกม นิทาน เพลง เป็นต้น สิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้านการฟังการพูด การอ่านและการเขียน  การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การสร้างความมั่นใจ การกล้าแสดงออก  การทำงานเป็นกลุ่มและการสร้างชิ้นงานที่มีคุณภาพ การสอนแบบบูรณาการเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเกิดความคิดสร้างสรรค์
Learning log
(29th  October, 2015 – 30th  October, 2015  )
“สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรม เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
การสอนเป็นงานหลักของครูที่ช่วยให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติตามจุดประสงค์การสอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการประสบความสำเร็จของผู้เรียนก็ขึ้นอยู่กับวิธีการสอนต่างๆของครูด้วย ว่าจะเลือกใช้วิธีการสอนแบบไหนจึงจะเกิดการพัฒนาผู้เรียนมากที่สุด ซึ่งจากการที่ดิฉันได้เข้าร่วมการอบรมเชิงวิชาการ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในวันที่ 30 ตุลาคม 2558 ในช่วงเช้า โดยมีผู้บรรยายคือ ผศ.ดร.ศิตา  เยี่ยมขันติถาวร บรรยายเกี่ยวกับวิธีการสอนในศตวรรษที่21
วิธีการสอนในศตวรรษที่21 มี 4 แนวการสอนใหญ่ๆ  ได้แก่ แนวการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ทางภาษามี 2 วิธี ได้แก่ 1.) วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และแปลเป็นการเรียนที่เน้นการท่องจำและความถูกต้องในการใช้ภาษา และ2.)วิธีการสอนแบบฟัง-พูด ผู้เรียนจะพูดได้ก่อนอ่านและเขียน มีการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา จะเน้นการท่องจำบทสนทนา  ประเภทที่2 แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ มี7 วิธี ได้แก่ 1.)วิธีสอนแบบเงียบเป็นการความรู้ความข้าใจของผู้เรียนเอง ให้ผู้เรียนคิดเองและจะสอนจากเรื่องง่ายไปยาก 2.)วิธีสอนตามแนวธรรมชาติเป็นการรับรู้ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครสอน เป็นการพัฒนาทักษะทางภาษา 3.)วิธีสอนแบบชักชวนเป็นการสอนที่โน้มน้าวให้ผู้เรียนได้ใช้พลังสมอง เช่น การแสดงละคร การฟังบทสนทนาโดยมีดนตรีเบาๆประกอบ 4.) วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางเป็นการสอนที่ครูใช้คำสั่งเป็นหลักในการสอน 5.)วิธีสอนแบบร่วมมือเป็นการสอนให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความรู้กัน 6.) การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ใช้ภาระงานเป็นหลัก ผู้เรียนใช้ Search Engineแล้วสร้างชิ้นงานออกมา 7.) การเรียนรู้จากการทำโครงงาน ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเอง แก้ปัญหาเอง ประเภทที่3 แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นความเหมาะสมในการใช้ภาษา มี2 แนวการสอน ได้แก่ 1)แนวการสอนแบบกำหนดสถานการณ์เป็นการสอนที่ผู้สอนกำหนดสถานการณ์ที่คิดว่าผู้เรียนจะต้องประสบในการใช้ภาษามาสอน 2.) แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารการสอนให้ผู้เรียนฟังก่อนพูด  แล้วจึงอ่าน ประเภทที่4 แนวการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษามี2วิธี ได้แก่ 1.)รสอนแบบเน้นสาระการเรียนรู้เป็นการสอนที่นำเนื้อหาวิชาต่างๆมาบูรณาการกับจุดหมายของการสอนภาษา 2.) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการเชื่อมโยงความคิดรวบยอดจากวิชาและประสบการณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสามารถทางพหุปัญญา
จากการที่ดิฉันได้ฟังคำบรรยายทำให้ดิฉันมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการสอนต่างๆ ซึ่งในการเรียนรู้ทางภาษามีกระบวนการและวิธีที่หลากหลาย ผู้สอนต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญา วิธีการเรียนรู้ ความสนใจและความสามารถของผู้เรียน ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้ควรใช้รูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเน้นการเรียนการสอนตามสภาพจริง การปฏิบัติจริง การเรียนรู้จากธรรมชาติและการเชื่อมโยงเนื้อหารายวิชาและหลักสูตรที่ผสมผสานเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้อย่างบูรณาการและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
Learning log
(29th  October, 2015 – 30th   October, 2015  )
“สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าอบรม เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ”
การศึกษาเป็นเครื่องพัฒนาชีวิตของมนุษย์ให้มีศักยภาพทางด้านต่างๆ  ซึ่งการที่จะพัฒนาชีวิตมนุษย์ให้มีความพร้อมทางด้านต่างๆนั้น ครูหรือผู้สอนจะต้องเป็นบุคคลหลักในการเลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของไทยที่มีการแข่งขันด้านต่างๆกับประเทศในอาเซียน   ดังนั้นครูควรเลือกวิธีการสอนที่เหมาะกับสภาพสังคมและสภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจากการที่ดิฉันได้เข้าร่วมการอบรมเชิงวิชาการ เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะในวันที่ 30 ตุลาคม 2558 ในช่วงบ่าย โดยมีผู้บรรยายคือ ผศ.ดร.ศิตา  เยี่ยมขันติถาวร บรรยายเกี่ยวกับวิธีการสอนในศตวรรษที่21
องค์ความรู้ที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่21 ประกอบไปด้วยภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาแม่(English) ทักษะการอ่าน(Reading) ทักษะการใช้ภาษาอื่นๆ(Language Arts) ได้แก่ การฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาต่างประเทศและทักษะอื่นๆ นอกจากนั้นแล้วจะต้องมีการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนโดยการประสานไปพร้อมองค์ความรู้หลัก ได้แก่ การตระหนักเกี่ยวกับโลก ความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน ธุรกิจ เศรษฐกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่พลเมือง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้มีทักษะที่สำคัญซึ่งได้แก่ 1.) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ประกอบไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ความคิดเชิงวิพากษ์ การร่วมมือกัน การสื่อสารและการแก้ปัญหา 2.)ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อและเทคโนโลยี และ3.) ทักษะชีวิตและการประกอบอาชีพ นอกจากนั้นแล้วครูผู้สอนเป็นบุคคลสำคัญที่จะต้องมีการพัฒนาตนเอง เช่น การใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ การพัฒนาการสอนแบบบูรณาการมีนวัตกรรม ICT  มีการบริหารจัดการทางด้านวิชาการ และโรงเรียนจะต้องมีการจัดแหล่งเรียนรู้ด้วยระบบ E-Classroom, E-Learning, E-Library, E-Studentและ E-Service  และการจัดการเรียนการสอนแบบ The flipped Classroom ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบ Active learning เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพสถานศึกษาในศตวรรษที่21ให้มีคุณภาพ และสร้างความเท่าเทียมทางด้านการศึกษาให้กับผู้เรียนด้วย
จากการที่ดิฉันฟังคำบรรยายนี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวิธีการสอนแบบต่างๆในศตวรรษที่21 ทำให้ดิฉันมีความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการสอนประเภทต่างๆที่พัฒนาศักยภาพของเด็กในศตวรรษที่21 ให้มีความพร้อมในการเข้าสู้สังคม เพื่อบูรณาการกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กตามสภาพความเป็นจริง และเพื่อเป็นการแข่งขันทางด้านการศึกษาให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ และความรู้ที่ดิฉันได้รับไปวันนี้ ดิฉันคิดว่าสามารถนำวิธีการสอนในศตวรรษที่21นี้ไปบูรณาการการสอนในชั้นเรียนต่างๆได้ให้เหมาะกับความต้องการและสภาพของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น